งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เป็นงานที่สำคัญเนื่องจากเป็นการป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ ใช้งบประมาณน้อยแต่สามารถป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเทศไทย กำหนดเป้าหมายความครอบคลุมวัคซีน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ในปีงบประมาณ 2558 จังหวัดสระบุรี มีผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค มีความคลอบคลุมในเด็กอายุ 1 ปี เด็กอายุ 2 ปีเด็กอายุ 3 ปีเด็กอายุ 5 ปี ร้อยละ 51.47 72.13 35.42 81.02 ตามลำดับ ในปีงบประมาณ 2558 อำเภอเสาไห้ ผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค มีความคลอบคลุมในเด็กอายุ 1 ปี เด็กอายุ 2 ปีเด็กอายุ 3 ปีเด็กอายุ 5 ปี ร้อยละ 74.46 89.84 49.80 87.42 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเสาให้ ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมป้องกันโรค ได้เห็นความสำคัญของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จึงได้พัฒนาการดำเนินงานดังกล่าวฯ ให้มีประสิทธิภาrอันจะมีผลทำให้ประชาชนปลอดภัยจากโรคที่ป้องกันด้วยวัคซีนต่อไป
เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานใหม่ ของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ และเปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่าง ก่อน กับ หลัง การนำรูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาดำเนินการ จำแนกเป็นรายปี
เป็นวิจัยการเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งนำผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติ พัฒนาปรับปรุงผลการปฏิบัติงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ ดำเนินงานในพื้นที่อำเภอเสาไห้ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2562 โดยมีการปรับปรุงเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 14 คน อาสาสมัครสาธารณสุข 659 คน คัดเลือกโดยเลือกทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการวิจัย จากการตั้งคณะทำงานการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ได้กำหนดแนวทางในการติดตาม โดยใช้ทะเบียนเด็ก 0-5 ปี มาลงวันนัดในทะเบียน และแจ้งให้อาสาสมัครสาธารณสุขในวันประชุมประจำเดือน เพื่อแจ้งเตือนและติดตามผู้ปกครองให้นำบุตรหลานมารับวัคซีน 1. สมุดบันทึกอนามัยแม่และเด็ก 2. ทะเบียนเด็ก 0-5 ปี 3. โปรแกรม Hosxp pcu 4. รางาน HDC กระทรวงสาธารณสุข
จากปัญหาการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเสาไห้ วิเคราะห์ปัญหาพบว่าผู้ปกครองไม่นำบุตรหลานมารับวัคซีน และระบบการติดตามขาดประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดแนวทางในการติดตาม โดยใช้ทะเบียนเด็ก 0-5 ปี มาลงวันนัด และแจ้งให้อาสาสมัครสาธารณสุข ในวันประชุมทุกเดือน เพื่อให้แจ้งเตือนผู้ปกครองให้นำบุตรหลานมารับวัคซีน ผลการดำเนินงาน หลังจากใช้แนวทางการติดตามพบว่าความครอบคลุมวัคซีนของอำเภอเสาไห้มีผลงานดีขึ้น ดังนี้ เด็กอายุ 1 ปี ผลงานปีงบประมาณ 2558 2559 2560 2561 2562 ร้อยละ 74.4689.1194.7498.1098.18 เด็กอายุ 2 ปี ผลงานปีงบประมาณ 2558 2559 2560 2561 2562 ร้อยละ 89.8493.9988.4291.4 93.55 เด็กอายุ 3 ปี ผลงานปีงบประมาณ 2558 2559 2560 2561 2562 ร้อยละ 49.8095.9890.4892.8493.22 เด็กอายุ 5 ปี ผลงานปีงบประมาณ 2558 2559 2560 2561 2562 ร้อยละ 87.4298.9791.4290.1292.89
ระบบเดิมใช้วันนัดในโปแกรม Hosxp ถึงจะสะดวกแต่ก็ไม่ครอบคลุม เนื่องจากมีเด็กบางคนรับบริการที่อื่นจะไม่ถูกบันทึกในโปแกรม Hosxp จึงทำให้ขาดการติดตาม ระบบใหม่ใช้วันนัดจากทะเบียนเด็ก 0-5 ปี ซึ่งจะบันทึกรายการรับวัคซีนของเด็กทุกคนที่อยู่ในความรับผิดชอบทำให้ติดตามเด็กข้อมูลวันนัดได้ครอบคลุมสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ ทำให้ความครอบคลุมวัคซีนในประชากรเป้าหมายพื้นที่อำเภอเสาไห้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพต้องระบุปัญหาให้ชัดเจน เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วเป็นลำพับแรกเพื่อลดภาระงาน และยังต้องคำนึงถึงบริบทของพื้นที่ หาแนวทางที่เหมาะสมกับการดำเนินงานในพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้และแก้ไขปัญหาเป็นระยะ ให้ความสำคัญกับทุกภาคส่วน มีการพัฒนาศักยภาพบุคคลากร และต้องมีความสม่ำเสมอ จึงจะทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ
การระบุปัญหาที่ชัดเจน และนำปัญหาที่ได้มาวางแผนกำหนดเป็นแนวทางอย่างเป็นระบบ ทำให้แก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง การใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับพื้นที่ทำให้การทำงานง่าย ความสม่ำเสมอในการดำเนินงานทำให้เกิดผลงานที่ต่อเนื่อง ความร่วมมือของทุกภาคส่วน และการสนับสนุนของผู้บริหาร ทำให้การดำเนินงานครั้งนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ความครอบคลุมวัคซีนในประชากรเป้าหมายพื้นที่อำเภอเสาไห้ ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
การสนับสนุนเชิงนโยบาย พอใจ สนับสนุนงบประมาณ พอใจ ให้คำปรึกษา พอใจ จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน ควรมีการปรับปรุง ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน ควรมีการปรับปรุง
สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย