pre-loader image

งานวิจัย R2R

ประเภทของงานวิจัย







ระดับการนำไปใช้งาน





งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์


งานวิจัยได้รับการเผยแพร่


งานวิจัยได้รับรางวัล


พัฒนารูปแบบการบริการใหม่ต่อการแก้ไขปัญหานํ้านมน้อยไหลช้า ในมารดาหลังคลอดโรงพยาบาลเสาไห้เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา

งานวิจัยปี
คำสำคัญ
คลอด รก ร่างกาย หลัง หัวนม เต้านม
ประเภท
ทุติยภูมิ
ระดับของการนำไปใช้
ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว
ประเด็น
อื่นๆ (ปัญหาตัวชี้วัดคุณภาพไม่บรรลุ)
ที่มา:

ประเทศไทยตั้งเป้าหมายให้ทารกแรกคลอดได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนร้อยละ50 จากสถิติโรงพยาบาลเสาไห้เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ในปี 2557-2559 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว มีแนวโน้มลดลงต่ำกว่าร้อยละ50 ติดต่อกัน 3 ปี จากการหาสาเหตุส่วนใหญ่ ให้เหตุผล น้ำนมน้อยไม่เพียงพอเลี้ยงลูกร้องบ่อย ทำให้มารดากังวลว่านมไม่พอหันไปหานมผสมร่วมด้วย หรือหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญของความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คณะผู้วิจัยมีแนวคิดนำสมุนไพรพื้นบ้านน้ำนมราชสีห์ที่ใช้ ยังไม่มีรายงานการศึกษาถึงประสิทธิผลของสมุนไพรน้ำนมราชสีห์ในการพัฒนารูปแบบการบริการใหม่ต่อการแก้ไขปัญหานํ้านมน้อยไหลช้า ดังนั้นหากได้ผลดีจะนำไปเป็นทางเลือกแก่หญิงหลังคลอดที่น้ำนมไม่ไหล หรือไหลน้อยและเป็นรูปแบบบริการใหม่เพื่อสนับสนุนหญิงหลังคลอดประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไป

วัตถุประสงค์:

พัฒนารูปแบบการบริการใหม่ต่อการแก้ไขปัญหานํ้านมน้อยไหลช้า อย่าเป็นระบบ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลผลการนำรูปแบบบริการใหม่กับแบบเดิมมาดำเนินการแก้ปัญหานํ้านมน้อยไหลช้า

ระเบียบวิธีวิจัย:

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองกลุ่มตัวอย่างประชากรมารดาหลังคลอดปกติในวันที่ 10 /4/60-15/3/61 จำนวน60รายเกณฑ์คัดเข้าน้ำนมไหลน้อยต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หัวนมปกติและเต้านมปกติ แม่่ลูกรกอยู่ด้วยกัน2วันขึ้นไปไม่มีประวัติแพ้สมุนไพรเกณฑ์คัดออก แม่ลูกแยกกัน แม่ประสงค์ยุติโดยแบ่ง 2 กลุ่ม 30 คนแรกที่มาคลอด จัดเข้ากลุ่ม1ให้บริการแบบเดิม ด้วยอาหารเมนูหลังคลอด+ไข่ต้ม 1ฟอง/มื้อ ประคบเต้านม 2 วันวันละ1ครั้งและคนที่31-60 เข้ากลุ่ม2ให้บริการใหม่ กิจกรรมเหมื่นกลุ่ม1เพิ่มดื่มน้ำนมราชสีห์ต้ม 500 ml3 เวลาครบ3วัน ประเมินการไหลของน้ำนมก่อนให้กิจกรรมและหลังให้กิจกรรมวันที่12ละ3.ด้วย แบบประเมิน ระดับ การไหลน้ำนม4ระดับ วัดปริมาณน้ำนมเป็น ซีซี ต่อวัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละและไควสแคว์

ผลการศึกษา:

ผลประเมินการไหลของน้ำนมกลุ่มที่2(แบบใหม่)1วันแรกน้ำนมเริ่มไหลมี86.67% ไม่ไหล10%วันที่ 2 ไหลปานกลาง 80 % วันที่3ไหลมาก 93.3 %เทียบกับกลุ่มที่1(บริการเดิม)ไม่ไหล 93.33% เริ่มไหล6.67% วันที่ 2 ไหลทุกราย ในทั้ง2กลุ่มสรุปผลระยะเวลาน้ำนมไหลครั้งแรกในกลุ่ม1และกลุ่ม2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 เปรียบเทียบปริมาณน้ำนมในวันที่12และ3 พบว่ากลุ่ม2(แบบใหม่)ปริมาณน้ำนมในวันแรกได้2-5ccมี 93.%ไม่มีน้ำนม7 % วันที่ 2 วัดปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้น 6-10 ml มี 56.67% วัดปริมาณได้มากกว่า 10 ml มี 36.7% เทียบกับกลุ่มที่ 1 (รูปแบบเดิม)พบว่า วัดปริมาณน้ำนมไม่ถึง 1ml มี 93.3 % วันที่ 2 ;วัดปริมาณน้ำนมได้ 5 ml พบว่า 63.3 %ได้ 6-10 ml พบ 36.7% สรุปผลปริมาณน้ำนมรวมต่อวันของกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( P=0.000)

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ:

นำผลการศึกษามาพัฒนาระบบบริการแบบใหม่มาใช้เป็นแนวทางการดูแลช่วยเหลือสนับสนุนหญิงหลังคลอดประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยANCให้ความรู้ สร้างทัศนคติที่ดีในห้องคลอดสร้างสายใยผูกพันและให้ทารกดูดนมแม่และหลังคลอดสนับสนุน ช่วยเหลือและสร้างความมั่นใจด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมการดูแลอย่างต่อเนื่องและติดตามเมื่อกลับสู่ชุมชนจะประสานข้อมูลให้จนท.รพสตลงไปติดตามเยี่ยมและดูแล

บทเรียนที่ได้รับ:

พบว่า3วันแรกที่มารดาอยู่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่มีบทบาทสำคัญในการแนะนำ ช่วยเหลือ สนับสนุนและประคับประคองให้มารดาสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจและภาระหน้าที่ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความสำเร็จในการเลี่ยงลูกด้วยนมแม่ให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ:

การสนับสนุนจากผู้บริหารและทีมทำงานมีเป้าหมายชัดเจนร่วมกันใช้ทักษะความรู้ความสามารถของแต่ละงานมาบูรณาการค้นหาวิธีการใหม่อ้างอิงวิชาการมาศึกษาวางระบบเป็นรูปธรรม ติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่องซึ่งผลนำแบบการบริการใหม่มาใช้ พบว่า ร้อยละการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว6 เดือนสูงขึ้น ในปี 2561 2562 และ ปัจจุบัน ตามลำดับต่อไปนี้ ร้อยละ 47.37 53.54 และ 62.8 9ตามลำดับ

การสนับสนุนที่ได้รับจากผู้บริหารหน่วยงาน/องค์กร:

การสนับสนุนเชิงนโยบาย พอใจ สนับสนุนงบประมาณ พอใจ ให้คำปรึกษา พอใจ จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน พอใจ ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน พอใจ การสนับสนุนอื่นๆ ระบุ 4. สนับสนุนให้และเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานและต่างหน่วยงาน ระดับการสนับสนุนอื่นๆ พอใจ

Keywords:

ยาต้มน้ำนมราชสีห์

เป็นสิ่งประดิษฐ์:

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์:

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน:

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ:

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล
นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย
ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร
จังหวัด
สระบุรี
ภูมิภาค
ภาคกลาง
เขตสุขภาพ
เขตที่ 4
ข้อมูลอื่น ๆ
การสนับสนุน
ไม่ได้รับ
เผยแพร่เมื่อ
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง