pre-loader image

งานวิจัย R2R

ประเภทของงานวิจัย







ระดับการนำไปใช้งาน





งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์


งานวิจัยได้รับการเผยแพร่


งานวิจัยได้รับรางวัล


กระปุกยาน้อยคอยพิทักษ์ยาฉีดอินซูลินด้วยวัสดุเหลือใช้

งานวิจัยปี
คำสำคัญ
หลัง เบาหวาน เย็น
ประเภท
นวัตกรรม
ระดับของการนำไปใช้
ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว
ประเด็น
อื่นๆ
ที่มา:

โรงพยาบาลนาดูนมีผู้ป่วยเบาหวานต้องใช้ยาฉีดอินซูลินจำนวน 324 คน จากคนไข้เบาหวานทั้งหมด 2150 คน ซึ่งยาฉีดอินซูลินต้องเก็บในอุณหภูมิ 2 – 8 องศาเซลเซียส พ้นแสง จะมีอายุการใช้งานตามระบุข้างขวด ถ้าอยู่ในอุณหภูมิห้อง (ไม่เกิน 25 – 30 องศาเซลเซียส) จะมีอายุ 1 เดือน โดยผู้ป่วยเวลามารับบริการไม่ใส่ใจควบคุมอุณหภูมิในการเก็บยาระหว่างทางก่อนถึงบ้าน ไม่นำกระติกน้ำแข็งมารับยา ถ้าเอามาก็ไม่มีน้ำแข็ง หรือถ้าเตรียมน้ำแข็งมาน้ำแข็งก็ละลายหมด ทำให้ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิยาฉีดอินซูลินระหว่างทางกลับบ้านได้ ยาฉีดอินซูลินจึงเสื่อมคุณภาพซึ่งส่งผลต่อการรักษาโรคเบาหวานของผู้ป่วยดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจในเรื่องการเก็บรักษายาอินซูลินระหว่างทางกลับบ้านของผู้ป่วย โดยหาวิธีเก็บรักษายาฉีดอินซูลินที่สามารถพกพาได้สะดวก นำมารับยาในวันนัดได้ทุกครั้ง และรักษาอุณหภูมิให้ไม่เกิน 25 องศาเซลเซียสได้นาน 2 ชั่วโมงจนถึงบ้าน

วัตถุประสงค์:

เพื่อพัฒนากล่องยาเหลือใช้ให้สามารถเก็บยาอินซูลินและรักษาความเย็นให้ไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส ได้นาน 2 ชั่วโมง และสามารถนำไปใช้ในการบรรจุยาฉีดอินซูลินให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้

ระเบียบวิธีวิจัย:

การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง ทดสอบนวตกรรมกระปุกยาเปรียบเทียบกับกระติกที่มีขายในท้องตลาดโดย 1) เตรียมก้อนน้ำแข็งที่ทำจากน้ำเปล่า น้ำเกลือความเข้มข้น ครึ่งช้อนชา 1 ช้อนชาและ 2 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ลิตร บรรจุลงซองซิป 50 มล. นำไปแช่ในช่องแข็งจนแข็ง 2) เตรียมกระปุกยาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 ซม. สูง 13.5 ซม. จำนวน 4 ใบ โดยเจาะฝากระปุกยาให้เป็นรู เพื่อใส่สายโพรปลงไปให้ยาว 4 ซม. สำหรับวัดอุณหภูมิ ใส่ก้อนน้ำแข็งแต่ละชนิดจำนวน 1 ก้อนลงในกระปุกยา ปิดฝาและปิดรูที่ฝาด้วยดินน้ำมัน บันทึกอุณหภูมิเริ่มต้น และทุก 10 นาที จนครบ 2 ชม. เปรียบเทียบกับนำแข็งก้อนแต่ละชนิดจำนวน 2 ก้อน

ผลการศึกษา:

การทดลองอุณหภูมิห้อง 31 – 33 องศาเซลเซียส น้ำแข็งก้อน ชนิดน้ำเกลือ 1 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ลิตร จำนวน 2 ก้อน สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในกระปุกยาน้อยได้ดีกว่าใช้จำนวน 1 ก้อน แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้ไม่เกิน 25 องศาเซลเซียสนาน 2 ชั่วโมง จึงปรับปรุงกระปุกยาน้อยใหม่ ใช้โฟมและฟลอย์ หุ้มด้านในและฝากระปุกยา ใช้เจลแข็งแทนก้อนน้ำแข็ง จำนวน 1 ก้อน และนำไปทดสอบเปรียบเทียบกับกระติกน้ำแข็งตามท้องตลาด พบว่าการทดลออุณหภูมิห้อง 31 – 33 องศาเซลเซียส ใช้เจลแข็ง จำนวน 1 ก้อน ใส่ในกระปุกยาน้อยที่ปรับปรุงใหม่ สามารถรักษาอุณหภูมิไม่ให้เกิน 25 องศาเซลเซียส ได้นานเกือบ 4 ชั่วโมง โดยเจลเย็นยังคงรูปและไม่มีน้ำปนเปื้อนหลอดยาฉีดอินซูนลิน ในขณะที่กระติกน้ำแข็งตามท้องตลาดที่มีขนาดใกล้เคียงกัน สามารถรักษาอุณหภูมิไม่ให้เกิน 25 องศาเซลเซียส ได้นานเพียง 3 ชั่วโมง แต่น้ำแข็งละลายกลายเป็นน้ำหมดและปนเปื้อนหลอดยาฉีดอินซูลิน

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ:

นวตกรรมกระปุกยาน้อยผู้คอยพิทักษ์ยาฉีดอินซูลิน สามารถนำมาใช้บรรจุหลอดยาฉีดอินซูลินระหว่างทางกลับบ้านผู้ป่วยได้ โดยเจลเย็นยังคงรูปและไม่มีน้ำปนเปื้อนหลอดยาฉีดอินซูลิน ผู้ป่วยและญาติให้ความร่วมมือ เพื่อรักษาประสิทธิภาพยาฉีดอินซูลินโดยนำกระปุกยาติดตัวมาด้วยทุกครั้งที่มารับยา นวตกรรมนี้สามารถลดภาวะโลกร้อนได้โดยนำเศษวัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายทำให้มีใช้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

บทเรียนที่ได้รับ:

หลังทดสอบประสิทธิภาพกระปุกยาว่าสามารถรักษาอุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียสได้ จึงทำการผลิตกระปุกยาน้อย จัดทำเจลแข็งให้เพียงพอ แต่เนื่องจากผู้ป่วยในช่วงแรกไม่เก็บเจลแข็งเพื่อนำกลับมาใช้อีก ทำให้ต้องเสียเวลาในการเตรียมเจลแข็งทุกอาทิตย์ จึงทำความเข้าใจกับผู้ป่วยว่าให้นำถุงเจลโดยไม่ต้องแช่แข็งมาเพื่อทำการแลกกับเจลแข็งที่เตรียมไว้ให้ สะดวกต่อผู้ป่วย และลดเวลาการเตรียมเจลใหม่ของผู้ให้บริการและรวดเร็วขึ้น

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ:

เนื่องจากอุปกรณ์ทุกอย่างที่ใช้ในการผลิตไม่ต้องหาซื้อเป็นวัสดุเหลือใช้ภายในห้องยา จึงสามารถผลิตกระปุกยาน้อยได้ตลอดเวลา และมีขนาดกระทัดรัดพกพาได้ง่ายทำให้ผู้ป่วยสะดวกต่อการใช้ และทุกฝ่ายทั้งแพทย์และพยายบาล ร่วมมือกันอธิบายผู้ป่วยจนเข้าใจว่าทำไมจึงต้องใส่ใจในการเก็บรักษายาฉีดอินซูลินให้ดีเพราะมีผลต่อการรักษาเบาหวานของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจและร่วมมืออย่างดี และได้ใช้กับผู้ป่วยที่ รพ.สต.ทุกแห่ง

การสนับสนุนที่ได้รับจากผู้บริหารหน่วยงาน/องค์กร:

ไม่ได้รับการสนับสนุน

Keywords:

กระปุกยา ยาฉีดอินซูลิน วัสดุเหลือใช้

เป็นสิ่งประดิษฐ์:

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์:

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน:

งานประชุมวิชาการสาธารณสุข เขตสุภาพที่ 7 ครั้งที่ 4 ประจำปี 2562 จังหวัดขอนแก่น 2562

รางวัลที่ได้รับ:

รองชนะเลิศอันดับ 2 การประกวดผลงานนำเสนอโดยโปสเตอร์ นวตกรรมสิ่งประดิษฐ์ เขตสุภาพที่ 7 กระทรวงสาธารณสุข 2562

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล
นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย
ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร
จังหวัด
มหาสารคาม
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เขตสุขภาพ
เขตที่ 7
ข้อมูลอื่น ๆ
การสนับสนุน
ไม่ได้รับ
เผยแพร่เมื่อ
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง