เด็กต้องได้รับอาหารที่เพียงพอและปลอดภัยเพื่อการเจริญเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติ จากรายงานโครงการเด็กไทยแก้มใส เมื่อปี 2561 พบว่าเด็กนักเรียนกินผักผลไม้จำนวนน้อยมาก มีเด็กกินผัก ผลไม้เพียงพอเพียงร้อยละ 18.1 30 ตามลำดับ และปัญหาความปลอดภัยจากสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ที่มีในผักผลไม้ ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายในการเกษตร สามารถทำให้เกิดการสะสมในร่างกายจนเกิดอันตรายและเป็นสาเหตุโรคร้ายแรงต่างๆ แม้ว่ากระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศเรื่องกำหนดให้สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาทุกระดับเป็นพื้นที่อาหารปลอดภัยสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช (3มค.2562)แต่การนำผลผลิตอาหารปลอดภัยจากในชุมชนมาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารแก่เด็กนักเรียนยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ปัญหาที่สำคัญประเทศไทยยังขาดกระบวนการและกิจกรรมที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วม จัดระบบให้มีผักผลไม้อินทรีย์ที่ผลิตในชุมชนนำเข้าสู่การบริโภคของเด็กนักเรียนอย่างเพียงพอ
พัฒนาระบบและกลไกในการจัดหาวัตถุดิบอาหารที่ปลอดภัยไปสู่อาหารให้เด็กได้บริโภคในโรงเรียน และเพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ในการได้รับอาหารปลอดภัยของกลุ่มเป้าหมาย และ ผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจ ต่อเกษตรกรผู้ผลิตและชุมชน
เป็นวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการในอ.จอมพระ จ.สุรินทร์ในช่วงเดือน พย. 2561–มีค. 2563 กลุ่มตัวอย่าง เป็นเด็กอนุบาลและเด็กประถมศึกษา 5195 คน จาก 40 โรงเรียน เกษตกรเข้าร่วมโครงการ 9 ตำบล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา มีขั้นตอนการดำเนินงาน 4 ระยะ คือ:ระยะที่ 1 ระยะวางแผนการพัฒนาโครงการ และกำหนดนโยบายสาธารณะ ระยะที่ 2. ระยะดำเนินการ (Action Period) ระยะที่ 3. ระยะกำกับติดตามกระบวนการพัฒนา (Monitoring Period) ระยะที่ 4. ระยะประเมินผล (Evaluation Period)
เกิดระบบและกลไกความร่วมมือในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในการจัดหาข้าว ผักและผลไม้อินทรีย์ ระดับอำเภอ และ ระดับตำบล ด้วยการประสานพลังกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน โดยการจัดทำเมนูกลางล่วงหน้า 1 ภาคการศึกษา ทำให้ทราบปริมาณและชนิดของผักผลไม้ ที่ต้องการในแต่ละวัน เพื่อให้เกษตรกรวางแผนผลิต กำกับและควบคุมคุณภาพ เพื่อให้ Demand และ Supply สมดุลกัน หลังดำเนินการ พบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เพิ่มขึ้น จาก 92 คน เป็น 333 คน วัตถุดิบอาหารที่โรงเรียนผลิตได้เอง 155229 บาท และ ที่ซื้อจากเกษตรกรในโครงการ 604014 บาท ทำให้เด็กได้รับข้าว ผักและผลไม้ อินทรีย์จากชุมชน รวม 759243 บาท เกษตรกรผู้ผลิต เกิดกลุ่มองค์กรเครือข่ายเกษตรกร ในระดับอำเภอและตำบล ในรูปแบบการจัดการเกิดเป็นเครือข่ายทางสังคมแลกเปลี่ยนความรู้ และได้นวัตกรรมในการจัดระบบอาหารกลางวันในโรงเรียนด้วย เมนูกลาง ที่พัฒนาจากระดับตำบล ปรับปรุงต่อยอดมาเป็นระดับอำเภอ และ การใช้โปรแกรมการจัดการผลผลิตของกลุ่มเกษตรกร เพื่อเชื่อมโยงผู้ผลิต (เกษตรกร) กับผู้บริโภค (โรงเรียน/นักเรียน) พัฒนารูปแบบการขนส่งสินค้าเกษตรมาส่งโรงเรียน และ พัฒนาการตรวจรับรองมาตรฐานความปลอดภัยแปลงเกษตรอินทรีย์ตามเกณฑ์มาตรฐานที่เหมาะสมกับอำเภอจอมพระ
ประเด็นวิจัยนี้ เหมาะกับงาน พชอ. ซึ่งเป็นงานพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน เพราะอาหารเป็นปัจจัยร่วมของปัญหาสุขภาพ ประเด็นนี้เป็นการทำงานที่บูรณากลไกราชการหลายหน่วยงานพัฒนาความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้องตามภารกิจหน้าที่ที่รับผิดชอบ สามารถทำให้การทำงาน พชอ.เกิดการมีส่วนร่วมที่เป็นรูปธรรม ผลที่เกิดจากการพัฒนานี้ส่งผลเชื่อมหลายมิติการพัฒนา ทั้งสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สังคม ความมั่นคงทางอาหาร และเศรษฐกิจชุมชน
1.การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ เรื่อง ระบบอาหารปลอดภัยในโรงเรียนและชุมชน 1.1 เกิดรูปแบบกลไกการจัดการ 1.2 เกิดรูปแบบการใช้ “เมนูกลาง” และ “ใช้โปรแกรมการจัดการผลผลิตของกลุ่มเกษตรกร” 2.ความร่วมมือของหน่วยงานในพื้นที่ 3.เกิดกลุ่มองค์กรเครือข่ายเกษตรกร 4. เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 5.โรงเรียนจัดการอาหารปลอดภัยให้นักเรียนบริโภคเพิ่มขึ้น 6.ผลกระทบจากการสร้างกระแสสังคมเช่น ปัญหาโภชนาการในเด็ก การบริโภคผักผลไม้
1.กลไกคณะทำงาน 2.การทำงานเป็นทีม 3.ภาคีความร่วมมือ 4.ระบบข้อมูลเช่นเมนูกลาง รายงานทางการเกษตร รายงานภาคการศึกษา
การสนับสนุนเชิงนโยบาย ไม่พอใจ สนับสนุนงบประมาณ ควรมีการปรับปรุง ให้คำปรึกษา ควรมีการปรับปรุง จัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน ควรมีการปรับปรุง ส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน พอใจ การสนับสนุนอื่นๆ ระบุ หน่วยงานสาธารณสุขอำเภอจอมพระ และที่ว่าการอำเภอจอมพระ ให้การสนับสนุนการดำเนินการเป็นอย่างดี ระดับการสนับสนุนอื่นๆ พอใจ
อาหารปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ อาหารกลางวันโรงเรียน ความมั่นคงทางอาหาร วิจัยเชิงปฏิบัติการ
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย