โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของของประเทศไทย เนื่องจากเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของคนไทย ในปี 2560 มีผู้ป่วย 37392 ราย ผู้ป่วยตาย 54 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.14 ปี 2561 มีผู้ป่วย 57129 ราย ผู้ป่วยตาย 71 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.12 ถึงแม้อัตราป่วยตามจะลดลง แต่จำนวนป่วยตายเพิ่มขึ้นจังหวัดสระบุรี ปี2561 ผู้ป่วย 577 ราย เสียชีวิต 2 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.35 สูงกว่าระดับประเทศ อำเภอเสาไห้เกิดการระบาดครั้งใหญ่ของโรคไข้เลือดออกปี2558 มีผู้ป่วย 105 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 317.12 ต่อแสนประชากร ปัญหาจากการดำเนินงานพบว่าสำรวจพบแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเสาไห้ จึงนำแนวทาง 4 M. มาใช้ในการควบคุมแหล่งเพราะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกที่ต้นเหตุ ซี่งเป็นแนวทางที่ปฏิบัติได้ง่าย และเหมาะสมกับบบิบทของชุมชน อำเภอเสาไห้
เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานใหม่ ของการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ตามบริบทของชุมชน ภายไต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน ก่อน กับหลัง การนำรูปแบบใหม่ที่ได้จากการพัฒนา จำแนกรายปี
เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งนำผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติ พัฒนาปรับปรุงผลการปฏิบัติงานให้มีประเสิทธิภาพ ดำเนินงานในพื้นที่อำเภอเสาไห้ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2561 โดยมีการปรับปรุงเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 26 คน อาสาสมัครสาธารณสุข 659 คน องค์กรส่วนท้องถิ่น 10 คน คัดเลือดโดยเลือกทั้งหมด โดยใช้แนวทาง 4 M. เป็นเครื่องมือ M1 Map การจัดทำแผนที่รายหมู่บ้านเพื่อทราบพิกัด M2.Mark ดำเนินการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย หากพบก็ทำลายพร้อมทำเครื่องหมายบ้านที่พบลงในแผนที่ M3.Monitor ทำซ้ำทุก 2 เดือน โดยเน้นหนักในบ้านที่ทำเครื่องหมายในแผนที่ M.4Maintennance บริหารจัดการมห้เกิดความยั่งยืน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
จากการดำเนินนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกรูปแบบใหม่ของอำเภอเสาไห้ โดยใช้แนวทาง 4M เป็นเครื่องมือทำให้ทราบจุดเสี่ยง และบริเวณที่มีความเสี่ยงจะพบแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่จะใช้ในการวางแผนการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีผลทำให้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย และอัตราป่วยไข้เลือดออก มีแนวโน้มลดลง โดย จากทั้งหมด 102 หมู่บ้าน หมูบ้านที่มีค่า CI น้อยกว่า 10 ก่อนใช้รูปแบบใหม่ ปี 2558 มีจำนวน 14 หมู่บ้าน หลังใช้รูปแบบใหม่ ปี 2559 2560 2561 หมูบ้านที่มีค่า CI น้อยกว่า 10 85 92 89 หมู่บ้าน ตามลำดับ อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกอำเภอเสาไห้ ก่อนใช้รูปแบบใหม่ ปี2558 อัตราป่วย 317.12 ต่อแสนประชากร หลังใช้รูปแบบใหม่ ปี 2559 2560 2561 อัตราป่วยโรคไข้เลือดออก 24.17 12.70 28.97 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ
แนวทาง 4 M.เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ สามารถระบุจุดที่มีความเสี่ยง และระบุความรุนแรงของบริเวณที่มีความเสี่ยง ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญในการวางแผนการดำเนินงาน และเป็นเครื่องมือที่ง่ายเหมาะสมกับบริบทของอำเภอเสาไห้ ที่มี อสม.ร้อยละ72.58 เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งไม่สามารถใช้เทคโนโลยี่สมัยใหม่ได้ แนวทาง 4 M.จึงเป็นแนวทางที่สามารถใช้ได้จริง นอกจากนั้นแนวทาง 4 M. สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้อีกด้วย
การดำเนินงานให้สำเร็จนั้นต้องใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ใช้ได้จริงกับบริบทของพื้นที่ สามารถระบุปัญหาได้อย่างถูกต้อง เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การแก้ไขปัญหาเป็นตรงจุด และเป็นการประหยัดทรัพยากร และประหยัดเวลา หากใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพแต่ไม่เหมาะกับบริบทของพื้นที่ก็จะทำให้การดำเนินงานไม่มีประสิทธิภาพ เช่นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง กับอสม.ที่เป็นผู้สูงอายุ
การใช้เคร่ืองมือที่มีประสิทธิภาพ ระบุปัญหาได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับบริบทของบุคลากรในพื้นที่ ความร่วมมือจากเครือข่าย ความสม่ำเสอมของการดำเนินงาน การสนับสนุนการดำเนินงานของผู้บริหาร ผู้ร่วมงาน เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ ในการดำเนินงาน
การสนับสนุนเชิงนโยบาย พอใจสนับสนุนงบประมาณ พอใจให้คำปรึกษา พอใจจัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน พอใจส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน พอใจ
โรคไข้เลือดออก แนวทาง 4 M.
ไม่เป็น
ไม่เคย
การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากงานประจำสู่งานวิจัย ครั้งที่ 10 จังหวัดเชียงใหม่ 2561
ไม่เคย