pre-loader image

งานวิจัย R2R

ประเภทของงานวิจัย







ระดับการนำไปใช้งาน





งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์


งานวิจัยได้รับการเผยแพร่


งานวิจัยได้รับรางวัล


แนวทางการติดตามตรวจ Pap smear ซ้ำในสตรีที่มีผลการตรวจวินิจฉัยรอยโรคที่ปากมดลูก พบปากมดลูกอักเสบ และ ปกติ ของโรงพยาบาลสันป่าตอง

งานวิจัยปี
คำสำคัญ
ปากมดลูก มะเร็ง มะเร็งปากมดลูก หลัง
ประเภท
ทุติยภูมิ
ระดับของการนำไปใช้
ระดับที่ 4 นำไปใช้ทั้งจังหวัดแล้ว
ประเด็น
อื่นๆ
ที่มา:

โรงพยาบาลสันป่าตอง ในปี 2550 พบสตรีที่มีผล Pap smear ผิดปกติจำนวนหนึ่งบอกว่า ในช่วง 1-3 ปีที่ผ่านมา เคยมีผลตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ และได้รับการแจ้งจากสูติแพทย์ที่ตรวจวินิจฉัยว่า ผลจากการส่องกล้อง และตรวจชิ้นเนื้อไม่พบความผิดปกติ จากคำบอกเล่าดังกล่าว นำไปสู่การสืบค้นข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนในช่วงปี 2546-2549 พบผู้มีผลคัดกรองผิดปกติจำนวน 285 คน โดยพบผลตรวจวินิจฉัยเป็นรอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็ง135 คน มะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม 41 คน และ ปกติ 109 คน ในจำนวนผู้ที่มีผลตรวจวินิจฉัยเป็นปกติ และเป็นเพียงปากมดลูกอักเสบนั้น พบว่า กลับมาตรวจ Pap smear เพื่อติดตามผลหลังการตรวจวินิจฉัยที่ระยะ 6 -12 เดือนเพียงร้อยละ 37.6 โดยทั้งหมดเมื่อติดตามมาตรวจ Pap smear ซ้ำ พบผลตรวจวินิจฉัยเป็นรอยโรคระยะก่อนมะเร็ง 15 คน และเป็นมะเร็งปากมดลูก 5 คน

วัตถุประสงค์:

เพื่อพัฒนาแนวทางและศึกษาผลการติดตามตรวจ Pap smear ซ้ำ ในสตรีที่เคยมีผลตรวจวินิจฉัยรอย โรคที่ปากมดลูก พบปากมดลูกอักเสบ (Cervicitis) และปกติ (No dysplasia seen) ของโรงพยาบาลสันป่าตอง

ระเบียบวิธีวิจัย:

การวิจัยพัฒนาเชิงทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลองโดยวัดผลก่อนและหลังการพัฒนางานด้วยอัตราการมาตรวจ Pap smear ซ้ำภายหลังการตรวจวินิจฉัยรอยโรคที่ปากมดลูก ดำเนินการตั้งแต่ปี2550-2561 กลุ่มประชากรศึกษา คือ สตรีอำเภอสันป่าตองที่มีผลผิดปกติจากการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ที่ได้รับการส่งต่อตรวจวินิจฉัยและรักษา จำนวน 371 คน โดยคัดกลุ่มตัวอย่างเข้าศึกษา คือ สตรีที่มีผลตรวจวินิจฉัยเป็นปากมดลูกอักเสบ จำนวน 28 คน และเป็นปกติ (No dysplasia seen) จำนวน 83 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบบันทึกการตรวจ Pap smear ใบรายงานผลตรวจชิ้นเนื้อ ใบส่งตัวตอบกลับการรักษา และโปรแกรม Microsoft excel วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และร้อยละ

ผลการศึกษา:

พบว่า แนวทางการติดตามตรวจ Pap smear ซ้ำประกอบด้วย 1) การจัดระบบบริการแบบ One Stop Service เพื่อให้ง่ายต่อการเข้ารับบริการ 2) มีรูปแบบการให้การปรึกษาแบบก้างปลา เพื่อให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ 3 ประเด็นได้แก่ เพื่อให้ทราบ เพื่อให้คลายความวิตกกังวล และ เพื่อให้ตระหนักต่อการกลับมาตรวจPap smear ซ้ำ 3) จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ Microsoft Excel เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจเช็ค 4) การขออนุญาตติดตามผ่านทางโทรศัพท์เพื่อกระตุ้นเตือน และ5) ประเมินผลทุก 1 เดือน พบว่าในช่วงปี 2550-2561 จากจำนวนผู้มีผลตรวจคัดกรองผิดปกติ 371 คน โดยพบผลตรวจวินิจฉัยเป็นรอยโรคระยะก่อนมะเร็ง 228 คน มะเร็งระยะลุกลาม 32 คน ปากมดลูกอักเสบ 28 คนและปกติ 83 คน พบว่า ในจำนวนผู้มีผลวินิจฉัยไม่พบความผิดปกติ 111 คนกลับมาตรวจ Pap smear ซ้ำที่ 6 และ12 เดือนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 37.6 ในปี 2546-2549 มาเป็นร้อยละ 92.8ในปี 2550-2561 โดยพบว่าในกลุ่มที่มาตามนัด 103 คนพบผลผิดปกติ 27 คน โดยพบผลตรวจวินิจฉัยซ้ำ เป็นรอยโรคระยะก่อนมะเร็ง 24 คน และมะเร็งระยะลุกลาม 3 คน

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ:

กระทรวงสาธารณสุข สามารถนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปเป็นหนึ่งในข้อมูลเชิงประจักษ์ ของการกำหนดตัวชี้วัดให้มีการติดตามตรวจ Pap smear ทุก 6 เดือนอย่างน้อย 2 ปี ในผู้ที่มีผลตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติทุกราย

บทเรียนที่ได้รับ:

ความสนใจต่อคำบอกเล่าของผู้มารับบริการ และความต้องการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามคำบอกเล่า นำไปสู่การสืบค้นข้อมูลย้อนหลังจากการดำเนินงานที่ผ่านๆมา ช่วยให้การแก้ปัญหาในครั้งนี้ได้ตรงจุด ส่งผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ:

ผู้บังคับบัญชาได้เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานมีอิสระทางด้านความคิดในการวิเคราะห์ปัญหา และเป็นอิสระในด้านการกำหนดแนวปฏิบัติ เพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาและพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง โดยให้กำลังใจ และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ตามที่เสนอขอทุกครั้ง

การสนับสนุนที่ได้รับจากผู้บริหารหน่วยงาน/องค์กร:

การสนับสนุนเชิงนโยบาย พอใจสนับสนุนงบประมาณ พอใจให้คำปรึกษา พอใจจัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน พอใจส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน พอใจ

Keywords:

การตรวจ Pap smear การตรวจวินิจฉัยรอยโรคที่ปากมดลูก ปากมดลูกอักเสบ

เป็นสิ่งประดิษฐ์:

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์:

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน:

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ:

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล
นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย
ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร
จังหวัด
เชียงใหม่
ภูมิภาค
ภาคเหนือ
เขตสุขภาพ
เขตที่ 1
ข้อมูลอื่น ๆ
การสนับสนุน
ไม่ได้รับ
เผยแพร่เมื่อ
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง