pre-loader image

งานวิจัย R2R

ประเภทของงานวิจัย







ระดับการนำไปใช้งาน





งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์


งานวิจัยได้รับการเผยแพร่


งานวิจัยได้รับรางวัล


การเฝ้าระวังภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี 2561 Monitoring of acute myocardial ischemia Sao Hai district Saraburi province.

งานวิจัยปี
คำสำคัญ
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ความดันโลหิตสูง หลัง เลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจ เบาหวาน
ประเภท
ปฐมภูมิ
ระดับของการนำไปใช้
ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว
ประเด็น
อื่นๆ (การป้องกันและเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อ)
ที่มา:

การเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นปัญหาการตายที่สำคัญของคนทั่วโลก ประเทศไทยและจังหวัดสระบุรีมีอัตราการตายด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นอันดับ2ของการตายทั้งหมด(HDC31ธ.ค.60)อ.เสาไห้มีอัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันปี2556-2558ร้อยละ45.446.160.0ของผู้ป่วยในระบบ FAST TRACT AMIของรพก.เสาไห้ เพิ่มขึ้นการป้องกันและเฝ้าระวัง โรคเป็นการดูแลสุขภาพที่ใช้ต้นทุนต่ำให้ผลคุ้มค่ากลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เรื่องอาการบ่งชี้ของโรค ความรุนแรง ผลกระทบ บางคนรู้แต่ไม่ตระหนักมารับบริการช้าถ้ากลุ่มเสี่ยงมีความรู้และเฝ้าระวังโรคเข้าถึงการรักษาเร็วจะทำให้ลดการสูญเสีย การป้องกันเฝ้าระวังโรคหลอดเลือดหัวใจที่ผ่านมาลดการตายจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันไม่ได้ สสอ.เสาไห้และเครือข่ายจึงได้ดำเนินการป้องกันเฝ้าระวังโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันโดยครอบครัวมีส่วนร่วม

วัตถุประสงค์:

พัฒนาการเฝ้าระวังโรคหลอดเลือดหัวใจ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี เปรียบเทียบผลการเฝ้าระวังโรคหลอดเลือดหัวใจ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี

ระเบียบวิธีวิจัย:

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research)เปรียบเทียบผล 4ปี(1ต.ค.57–30ก.ย.61)ประชากรคือผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่มีผลการคัดกรอง CVD risk≥30% อำเภอเสาไห้ จำนวน250คน (ครอบครัวมีอาสาสมัครประจำครอบครัว)และสมัครใจเข้าร่วม เครื่องมือที่ใช้ แบบคัดกรอง CVD risk แบบสอบถาม ป้ายเตือนอาการบ่งชี้โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน แบบบันทึกอาการฯ อาสาสมัครประจำครอบครัวและการติดตาม เก็บข้อมูลจากรายงานไม่ติดต่อโรคหัวใจ รพก.เสาไห้ ปี 2558-2561 ใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดลอง ประชุมชี้แจง อาสาสมัครประจำครอบครัว และกลุ่มตัวอย่าง ที่เข้าร่วมโครงการเฝ้าระวังโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อบรมให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดหัวใจ อาการบ่งชี้ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และการใช้ป้ายเตือนอาการ บันทึกการเฝ้าระวัง แก่อาสาสมัครประจำครอบครัว

ผลการศึกษา:

ก่อนทดลอง (2558)กลุ่มเสี่ยงมีการเฝ้าระวังภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันด้วยตนเอง พบว่ามีความรู้เรื่องการป้องกันและเฝ้าระวังระดับดี ร้อยละ58.0ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจระยะเฉียบพลัน ที่มารับการรักษาในระบบ FAST TRACT AMI รหัส I20-I25 มี15ราย เสียชีวิต9ราย ร้อยละ60.0 ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากมาถึงสถานบริการช้า ไม่รู้ถึงอาการบ่งชี้ของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และกลุ่มเสี่ยงมีอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ขณะที่อยู่คนเดียว หลังพัฒนาการเฝ้าระวังภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ปี2559 พบว่า มีความรู้ระดับดีร้อยละ74.4มีผู้มารับการรักษารหัส I20-I25 ในระบบมี8ราย ร้อยละ53.34 ไม่มีเสียชีวิต ปี2560 มี5ราย ร้อยละ33.3 ไม่มีเสียชีวิต ปี2561 มี6ราย ร้อยละ40.0ไม่มีเสียชีวิต เปรียบเทียบผลการเฝ้าระวังฯ พบว่าผู้ป่วย ปี256 ลดลงจากปี2558 ร้อยละ60.0และอัตราตาย ลดลงร้อยละ100

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ:

การเฝ้าระวังโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันด้วยการใช้ป้ายเตือนอาการบ่งชี้เป็นแนวทางการเฝ้าระวังภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเฉียบพลันร่วมกับอสค.ดูแลกระตุ้นเตือนและบันทึกการอาการบ่งชี้ของกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจสามารถลดการป่วยและตายจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเฉียบพลันได้หากดำเนินงานเชื่อมโยงกับเครือข่ายสุขภาพอื่นในชุมชนจะทำให้การเฝ้าระวัง ป้องกันโรคจะเกิดผลยั่งยืน

บทเรียนที่ได้รับ:

ครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพของสมาชิกทุกคน การดำเนินงานป้องกันและเฝ้าระวังโรคจึงควรให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วม จะเกิดความสำเร็จและยั่งยืน การเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพต้องมีการกระตุ้นเตือนบ่อยๆ ให้เกิดความรู้และเข้าใจและมีคู่มือให้ทบทวนความรู้แนวทางการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันและเฝ้าระวังโรคที่ถูกต้องได้ด้วยตนเอง

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ:

ความร่วมมือของครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกัน เฝ้าระวังโรค กระบวนการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ง่ายปฏิบัติได้จริง จะทำให้ญาติ ผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงร่วมมือและมีอาสาสมัครครอบครัวคอยกระตุ้นเตือนทำให้กลุ่มเสี่ยงตระหนักถึงปัญหาและความรุนแรงป้ายเตือนอาการบ่งชี้ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แบบบันทึกอาการบ่งชี้ถือเป็นเครื่องมือในการป้องกัน เฝ้าระวังและการติดตาม

การสนับสนุนที่ได้รับจากผู้บริหารหน่วยงาน/องค์กร:

การสนับสนุนเชิงนโยบาย พอใจจัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน พอใจ

Keywords:

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

เป็นสิ่งประดิษฐ์:

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์:

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน:

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ:

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล
นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย
ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร
จังหวัด
สระบุรี
ภูมิภาค
ภาคกลาง
เขตสุขภาพ
เขตที่ 4
ข้อมูลอื่น ๆ
การสนับสนุน
ไม่ได้รับ
เผยแพร่เมื่อ
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง