pre-loader image

งานวิจัย R2R

ประเภทของงานวิจัย







ระดับการนำไปใช้งาน





งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์


งานวิจัยได้รับการเผยแพร่


งานวิจัยได้รับรางวัล


การพัฒนาการฟื้นฟูสมรรถภาพและการพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลัน

งานวิจัยปี
คำสำคัญ
บาดเจ็บ พิการ ระบบประสาท หลัง โรคหลอดเลือดสมอง ไขสันหลัง
ประเภท
ทุติยภูมิ
ระดับของการนำไปใช้
ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว
ประเด็น
การฟื้นฟูสุขภาพ
ที่มา:

ในพื้นที่อำเภอเสาไห้พบว่าเป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ซึ่งพบจำนวนคนพิการร้อยละ 2.65 เป็นอันดับสามของจังหวัดสระบุรี และพบว่าผู้พิการมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากและจำเป็นจะต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งทางอำเภอเสาไห้มีความตระหนักถึงความสำคัญในการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลัน ให้มีการให้บริการที่ได้มาตรฐานเป็นระบบเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจน มีการสร้างเครือข่ายเพื่อให้การบริการอย่างต่อเนื่องและครอบคลุม และมีการขยายรูปแบบการให้บริการไปสู่การฟื้นฟูสมรรถภาพให้มีการส่งต่อไปยังชุมชนอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาระบบการส่งต่อข้อมูลการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพในระยะกึ่งเฉียบพลันที่สามารถเข้าถึงและเชื่อมโยงกันได้ทั้งอำเภอ เพื่อให้เกิดระบบบริการที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างครอบคลุมและมีการเชื่อมโยงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ

วัตถุประสงค์:

1. เพื่อศึกษาความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลันอ.เสาไห้ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่างก่อนกับหลังการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปดำเนินการ

ระเบียบวิธีวิจัย:

วิธีการวิจัย แบบการวิจัยแบบทดลองด้วยdesignการวิจัยพัฒนาเชิงทดลอง(Experimental Development Research)แบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่ส่งต่อในโครงการ SNAP ทุกรายในปี 2557-2560 รวมทั้งสิ้น 45 คน Intervention ที่ใช้ในการทดลอง คือ รูปแบบการพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 5 ชิ้น คือ รูปแบบที่พัฒนาขึ้น แบบประเมิน Bathel Index แบบบันทึกประวัติและการตรวจร่างกายผู้ป่วยระบบประสาท แบบบันทึกผลการลงข้อมูลในระบบฐานข้อมูลของโรงพยาบาล แบบบันทึกผลการสรุปผลการรักษาผู้ป่วยใน เก็บข้อมูลโดย ดำเนินการโดยคณะผู้วิจัยเป็นผู้เก็บข้อมูลเองทั้งหมด วิเคราะห์ข้อมูลโดย นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วน แล้วนำไปวิเคราะห์ด้วยสถิติร้อยละ

ผลการศึกษา:

พบว่าจำนวนผู้ป่วยในระยะกึ่งเฉียบพลันที่เข้าร่วมการศึกษานี้ทั้งหมด 45 คน จากจำนวนนี้เสียชีวิตไป 4คน (ร้อยละ 8.9) โดยอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยอยู่ ที่ 65.1 ปี โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้ ประกอบไปด้วย กลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง 38 คน (ร้อยละ 84.4) กลุ่มศีรษะได้รับบาดเจ็บ 4 คน (ร้อยละ 8.9) กลุ่มไขสันหลังบาดเจ็บ 3 คน (ร้อยละ 6.7) โดยทำการเปรียบเทียบค่า Barthel's index ก่อนและหลังการใช้ระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยใน ระยะกึ่งเฉียบพลันและการดูแลต่อเนื่องในชุมชนของอำเภอเสาไห้ พบว่าค่าคะแนน Barthel's index ก่อนการใช้ระบบเท่ากับ 31.9 หลังการใช้ระบบเท่ากับ 68.9 คะแนน จากคะแนนเต็มร้อย ซึ่งพบว่ามีค่าเพิ่มขึ้น และพบว่าอัตราการส่งต่อผู้ป่วย อัตราการได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ร้อยละ 100%

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ:

หน่วยงานได้นำผลการวิจัยในเรื่องนี้มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลันและพัฒนาระบบส่งต่อ จากจังหวัด และในชุมชนที่ส่งต่อมาได้อย่างมีระบบ รวดเร็ว และทันเวลาในการฟื้นฟูสภาพในระยะที่เหมาะสม ซึ่งมีผลให้การฟื้นฟูมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

บทเรียนที่ได้รับ:

ได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบการทำงาน ยิ่งมีความเป็นภาคีเครือข่ายที่ขยายไปสู่หลายๆระดับ ยิ่งต้องมีระบบที่ชัดเจน มีเป้าหมาย มีแนวทาง มีผลลัพธ์ และต้องเชื่อมโยงในทุกระดับ เพื่อการทำงานที่ไร้รอยต่อและเป็นทีมเดียวกันอย่างแท้จริง

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ:

1.การมี team work ที่ดี ทำให้การทำงานมีความต่อเนื่องและสามารถบรรลุเป้าหมายได้ 2.การมีเครือข่ายที่เข้มแข็งทั้งรพ.แม่ข่าย รพช.ที่รับนโยบาย รพ.สต.และชุมชน รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3.การมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ที่ดีและคอยสนับสนุนอัตรากำลัง เครื่องมือ การเดินทาง และเปิดโอกาสให้ได้ทำงานอย่างเต็มที่

การสนับสนุนที่ได้รับจากผู้บริหารหน่วยงาน/องค์กร:

การสนับสนุนเชิงนโยบาย พอใจสนับสนุนงบประมาณ พอใจให้คำปรึกษา พอใจจัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน พอใจส่งไปอบรมเพิ่มความรู้นอกหน่วยงาน พอใจเพิ่มอัตรากำลัง พอใจ

Keywords:

โรคหลอดเลือดสมอง

เป็นสิ่งประดิษฐ์:

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์:

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน:

วิชาการกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2559

รางวัลที่ได้รับ:

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล
นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย
ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร
จังหวัด
สระบุรี
ภูมิภาค
ภาคกลาง
เขตสุขภาพ
เขตที่ 4
ข้อมูลอื่น ๆ
การสนับสนุน
ไม่ได้รับ
เผยแพร่เมื่อ
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง