pre-loader image

งานวิจัย R2R

ประเภทของงานวิจัย







ระดับการนำไปใช้งาน





งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์


งานวิจัยได้รับการเผยแพร่


งานวิจัยได้รับรางวัล


การศึกษาบริหารจัดการคลินิกโรคเรื้อรัง ในระหว่างการรอพบแพทย์ตรวจรักษาโดยประยุกต์ใช้แนวคิดของลีน

งานวิจัยปี
คำสำคัญ
ncd ข้อ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน แขน โรคเรื้อรัง
ประเภท
ปฐมภูมิ
ระดับของการนำไปใช้
ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว
ประเด็น
การบริหาร/พัฒนาระบบ/เศรษฐศาสตร์/นโยบาย
ที่มา:

รพ.สต.บ้านคลองทองหลางมีผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตจำนวนมาก และเป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ อีกทั้งรพ.สต.ก็มีการดำเนินงานการเปิคคลินิก NCD ขึ้นเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ ได้รับบริการที่มีคุณภาพ แต่ระบบการบริหารจัดการของคลินิก NCD ของรพ.สต.มีปัญหาความพึงพอใจของผู้มารับบริการ เนื่องจากรอการตรวจรักษาของแพทย์ที่ใช้เวลานานเนื่องจากเดินทางมาถึงที่รพ.สต.ของแพทย์มาค่อนข้างสาย จึง ผู้ป่วยที่รอตรวจก็เกิดความหงุดหงิด โดยในแต่ละเดือนจะมีผู้มารับบริการประมาณ 40 คน จึงทำให้ผู้ป่วยกลับบ้านก่อนบ้างไม่รอหมอตรวจรักษา ร้อยละ 15 ทำให้แพทย์ไม่ได้ซักประวัติในการตรวจรักษา เพราะผู้ป่วยบ้างคนต้องทำงานต้องลางานมาตรวจ จึงก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจต่อผู้มารับบริการ ดังนั้นทางรพ.สต.จึงนำหลักการของลีนคือ การกําจัดความสูญเปล่าเพื่อสร้างคุณค่า มาใช้ในการบริหารจัดการคลินิกโรคเรื้อรัง

วัตถุประสงค์:

เพื่อศึกษาการบริหารจัดการในวันคลินิกโรคเรื้อรังในระหว่างการรอแพทย์มาตรวจรักษาผู้รับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรังอยู่พบแพทย์ตรวจรักษามากกว่าร้อยละ๙๐และวัดระดับความพึงพอใจในกิจกรรมที่รพ.สต.จัดระหว่างรอพบแพทย์

ระเบียบวิธีวิจัย:

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือผู้เข้ารับบริการที่มารักษาที่คลินิกโรคเรื้อรังของรพ.สต.บ้านคลองทองหลาง ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน 2561 และเข้าร่วมกิจกรรมที่รพ.สต.จัดขึ้น จำนวน 96 คน โดยใช้แบบสอบถามเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปสำรับการศึกษา การบริหารจัดการคลินิกโรคเรื้อรัง ของรพ.สต.บ้านคลองทองหลาง สถิติที่ใช้ในศึกษาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าที่น้อยที่สุด ค่าที่มากที่สุด และส่วนเบี่ยงเบียนมาตรฐาน

ผลการศึกษา:

ผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 61.5 ปี การศึกษาส่วนใหญ่จบระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป โรคประจำตัวส่วนใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูงรองลงมาคือ โรคเบาหวานระยะเวลาในการรอระหว่างการรอพบแพทย์นานที่สุดคือ 15-20 นาที ผู้ป่วยที่เข้าร่วมกิจกรรมระหว่างการรอพบแพทย์ส่วนใหญ่อยู่รอพบแพทย์ตรวจรักษา ร้อยละ 98.95 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมระหว่างการรอพบแพทย์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด x̅ = 3.46 (S.D.= .265) ระดับความพึงพอใจรายข้อที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดคือด้านความพึงพอใจในภาพรวมของกิจกรรมที่ รพ.สต. จัดทำขึ้น มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด x̅ = 3.70 (S.D.= .462) ความพึงพอใจแยกรายกิจกรรมพบว่า ความพึงพอใจต่อกิจกรรมโยคะ มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด x̅ = 3.46 (S.D.= .417) ความพึงพอใจต่อกิจกรรมแกว่งแขนประกอบเพลงแกว่งแขนสบาย สบาย มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก x̅ = 3.33 (S.D.= .375) ความพึงพอใจต่อกิจกรรมทำท่าประกอบเพลงดั่งดอกไม้บาน มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทีสุด มี x̅ = 3.43 (S.D.= .393) ความพึงพอใจต่อ ความสามารถในการนำทำกิจกรรมของเจ้าหน้าที่ มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทีสุด x̅ = 3.55 (S.D.= .427)

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ:

กระบวนการเพิ่มกิจกรรมระหว่างการรอแพทย์ตรวจทำให้เกิดเป็นรูปแบบกิจกรรมที่ทำอย่างต่อเนื่อง และจากการจัดกิจกรรมดังกล่าวถ้าผู้ป่วยนำความรู้ที่ได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องที่บ้านก็จะทำให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตของตนเองให้อยู่ในระดับปกติได้ อีกทั้งยังเป็นรูปแบบการพัฒนากระบวนการที่รพ.สต.อื่นๆสามารถนำไปปรับใช้ได้

บทเรียนที่ได้รับ:

กระบวนการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังนั้นมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละพื้นทีจะต้องนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมและสามารถแก้ไขปัญหาให้ตรงกับความต้องการของผู้ป่วย และการพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึงจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดูแลสุขภาพของตัวเองได้

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ:

กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับบริการควรมีความตั้งใจและนำความรู้ที่ทางรพ.สต.จัดทำขึ้นไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งตัวของเจ้าหน้าที่ก็ต้องมีความใส่ใจในการให้บริการ ให้คำปรึกษา แก่ผู้มารับบริการ ผู้บริหารก็ต้องเปิดรับแนวคิดการพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ และสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าของบุคคลากรเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถพึงพาตัวเองได้

การสนับสนุนที่ได้รับจากผู้บริหารหน่วยงาน/องค์กร:

การสนับสนุนเชิงนโยบาย พอใจให้คำปรึกษา พอใจจัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน พอใจ

Keywords:

คลินิกโรคเรื้อรัง แนวคิดของลีน

เป็นสิ่งประดิษฐ์:

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์:

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน:

งานประกวดผลงานวิชาการ R2R จังหวัดสมุทรสาคร สสจ.สมุทรสาคร 2561

รางวัลที่ได้รับ:

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ระดับปฐมภูมิ งานประกวดผลงานวิชาการ R2R จังหวัดสมุทรสาคร สสจ.สมุทรสาคร 2561

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล
นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย
ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร
จังหวัด
สมุทรสาคร
ภูมิภาค
ภาคกลาง
เขตสุขภาพ
เขตที่ 5
ข้อมูลอื่น ๆ
การสนับสนุน
ไม่ได้รับ
เผยแพร่เมื่อ
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง