งานตรวจคัดกรองความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงเป็นงานที่สำคัญที่สามารถดำเนินงานเบื้องต้นโดยติดตามคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและให้คำแนะนำในกลุ่มที่เสี่ยงเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเพื่อไม่ให้เป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตรายใหม่หรือลดการเกิดภาวะ Stroke และอัตราการเสียชีวิตจากภาวะทางหลอดเลือดสมองโดยต้องดำเนินการตรวจคัดกรองให้ครอบคลุมกลุ่มเสี่ยงทุกคนอายุ 35 ปีขึ้นไปทุกคนในพื้นที่ตำบลม่วงงาม จากข้อมูลการเข้าถึงบริการและตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงของตำบลม่วงงาม ปีงบประมาณ 2557 พบว่ายังไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ผู้วิจัยจึงได้พัฒนารูปแบบของการบริการตรวจคัดกรองความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงที่บ้านโดยอสม. ตำบลม่วงงามแล้วนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปดำเนินการต่อไป
เพื่อเปรียบเทียบผลการตรวจคัดกรองความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงระหว่างก่อนและหลังการนำรูปแบบมาพัฒนาเพื่อไปดำเนินการจำแนกเป็นรายปี
การศึกษาในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฎิบัติการ ( Action Research) แบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อน-หลัง(One-group pretest-posttest) การทดลองหลายครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic )และการเปรียบเทียบจำนวนและร้อยละ
รูปแบบการออกบริการตรวจคัดกรองสุขภาพที่บ้านโดย อสม. ที่พัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบการดำเนินงาน(Working Model)มีระบบงานที่เหมาะสมกับพื้นที่คือมีการใช้เครือข่ายสุขภาพ(อสม.)ในพื้นที่มาพัฒนาศักยภาพซึ่งทำให้ง่ายต่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย จากผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงามผ่านมาปีงบประมาณ 2558 2559 2560 ผ่านเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัดที่กระทรวงที่กำหนดไว้ร้อยละ 90.00 คือได้คะแนนร้อยละ94.26 96.60 94.87 ตามลำดับและอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยรายใหม่คิดเป็นร้อยละ 2.171.77และ1.65 ตามลำดับ
1.การนำวิธีการออกบริการตรวจคัดกรองสุขภาพที่บ้านโดย อสม. ในกลุ่มเสี่ยง ทำให้เกิดการเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยง ส่งผลให้อัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง 2. กลุ่มอสม.สามารถดำเนินการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นได้โดยมีเจ้าหน้าที่ติดตามเป็นพี่เลี้ยงอย่างต่อเนื่อง 3. การแจกเอกสารแจ้งเตือนความเสี่ยงมีความสำคัญทำให้กลุ่มเสี่ยงเกิดการตื่นตัวในการปรับเปลี่ยนพฤติ
อสม.มีความสำคัญในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขทุกๆ ด้านดังนั้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรมีการพัฒนาศักยภาพ อสม.อย่างต่อเนื่อง
1. การทำงานเป็นทีมมีความสำคัญโดยเฉพาะการสร้างเครือข่ายด้านสุขภาพในชุมชน 2. อสม.ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพสามารถทำการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นในชุมชนได้ 3. การประชุมกลุ่ม อสม.ทุกเดือนเพื่อสรุปปัญหาและหาแนวทางแก้ไขส่วนขาดของการดำเนินงาน 4. การร่วมประชุมประชาคมในตำบลเพื่อคืนข้อมูลด้านสุขภาพให้ชุมชนและร่วมจัดทำแผนแก้ไขปัญหา
การสนับสนุนเชิงนโยบาย พอใจให้คำปรึกษา พอใจจัดอบรมให้ความรู้ในหน่วยงาน พอใจ
1. กรมสนับสนุนบริการ.แนวทางการดำเนินงาน อสม.สร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรม2557 2. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี (Annual Report 2115) 2558 3. อมร นนทสุต. ปัจ
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย