หญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มที่ควรได้รับการดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ เพราะระหว่างการตั้งครรภ์หญิงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์จึงเป็นหนึ่งในปัจจัย สำคัญที่จะส่งผลให้ ทารกมีสุขภาพที่ดี(1) โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์เนื่องจากขณะ ตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้มี โอกาสเกิดโรคปริทันต์ นอกจากนี้ ยังพบการเกิด โรคฟันผุ การสึกกร่อนของฟัน สภาวะปากแห้ง หากหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคปริทันต์แล้วไม่รับ การรักษา อาจทำให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ คลอดก่อนกำหนด และทารกน้ำหนักน้อย(2-3) ดังนั้นในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก หญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับการฝากครรภ์จำนวน 5 ครั้งหรือที่ เรียกว่า 5 ครั้งคุณภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพบริการให้มีคุณภาพเพราะการได้รับการตรวจครรภ์ครบตามเกณฑ์และครอบคลุมสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ได้อย่างดี
เพื่อศึกษา ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติด้านทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการทางทันต กรรมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาดินใต้ ต.หัวปลวก อ.เสาไห้ จ.สระบุรี
วัสดุและวิธีการ เป็นการวิจัยเชิงพรรณาวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการสัมภาษณ์และผลตรวจสุขภาพช่องปากระหว่างการฝากครรภ์ครั้งแรกถึงการตรวจหลังคลอด ขั้นตอนการทำวิจัย 1.สัมภาษณ์หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ 2.ตรวจสุขภาพช่องปากและบันทึกผล ประชากรกลุ่มตัวอย่าง การดำเนินงานในคลินิก ANC ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 จนถึงปีงบประมาณ 2560 ใช้หญิงตั้งครรภ์จำนวน 10 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล - แบบบันทึกข้อมูลการตรวจสุขภาพช่องปาก - แบบสัมภาษณ์ข้อมูลพื้นฐานและพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปาก
ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุ พบว่า มีระดับความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุ ส่วนใหญ่ร้อยละ 60 มีความรู้ในระดับสูง รองลงมามีความรู้ในระดับปานกลาง ร้อยละ 30 ส่วนน้อยมีความรู้ในระดับต่ำ ร้อยละ 10 พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 90 ตอบถูกมากสุดในเรื่องโรคฟันผุเกิดจากการรับประทานอาหารแล้วไม่แปรงฟัน รองลงมาคือ อาหารที่มีประโยชน์ต่อฟัน คือ เนื้อ นม ไข่ ผัก ผลไม้ ร้อยละ 80 ทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุ พบว่า มีระดับทัศนคติมากสุด ร้อยละ 70 มีทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมา ร้อยละ 30 มีทัศนคติอยู่ในระดับสูง ซึ่งเมื่อแยกเป็นรายข้อ พบว่า มีระดับทัศนคติอยู่ในระดับสูงในเรื่องการรับประทานอาหารระหว่างมื้ออาจจะทำให้เกิดฟันผุได้มากขึ้น และในเรื่องการรับประทานอาหารทะเลจะทำให้ฟันแข็งแรงได้
1. หญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาทันตสุขภาพได้รับการส่งเสริมทันตสุขภาพได้อย่างเหมาะสมกับสภาพปัญหา 2. เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการวางแผนการส่งเสริมทันตสุขภาพ 3. วางแผนการให้ทันตสุขศึกษาได้ตรงกับปัญหา ตระหนักถึงปัญหาทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ในแต่ละปัญหาซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละหัวข้อ
ได้เรียนรู้ถึงการการทำวิจัย ได้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบจากข้อมูลในงานประจำ ทำให้ได้ผลการศึกษาไปใช้ในการวางแผนการทำงาน และเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ให้เกิดประสิทธิภาพให้มากยิ่งขึ้น
จากการวิเคราะห์ข้อมูลทำให้เรียนรู้ถึงปัญหาและอุปสรรคของฐานข้อมูลเดิม ดังนันจึงสามารถนำประสบการณ์ในการวิคราะห์ข้อมูลไปพัฒนาฐานข้อมูลให้เหมาะสมยิ่งขึ้นเพื่อใช้ในการวางแผนการวิจัยในระยะต่อไป
ไม่ได้รับการสนับสนุน
ัทันตสุขภาพในหญิงตั้งครภ์
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย