pre-loader image

งานวิจัย R2R

ประเภทของงานวิจัย







ระดับการนำไปใช้งาน





งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์


งานวิจัยได้รับการเผยแพร่


งานวิจัยได้รับรางวัล


การพัฒนางานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยแนวทาง 4 M อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ปี 2559-2560

งานวิจัยปี
คำสำคัญ
หลัง อก เลือด โรคติดต่อ ไข้เลือดออก ไข้
ประเภท
Meta R2R
ระดับของการนำไปใช้
ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว
ประเด็น
การป้องกันควบคุมโรค
ที่มา:

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย เป็นสาเหตุของการป่วยและเสียชีวิตที่สำคัญ สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี และมียุงลายเป็นพาหะนำโรค โรคไข้เลือดอออกในประเทศไทยใน ปี พ.ศ.2560 พบว่า มีอัตราป่วยเท่ากับ 80.80 ต่อแสนประชากร และอัตราป่วยตายร้อยละ 0.12 อำเภอเสาไห้เกิดการระบาดครั้งใหญ่ของโรคไข้เลือดออก ในปี 2558 มีอัตราป่วย 317.12 ต่อแสนประชากร เป็นลำดับที่ 3 ของจังหวัดสระบุรี จากทั้งหมด 13 อำเภอ ซึ่งการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกที่ต้นเหตุ ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ง่าย และใช้ต้นทุนต่ำ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเสาให้ ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมโรค ได้เห็นความสำคัญของทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก จึงได้พัฒนาการดำเนินงานดังกล่าวฯ ให้มีประสิทธิภาพ อันจะมีผลทำให้ประชาชนปลอดภัยจากอันตรายของโรคไข้เลือดออกต่อไป

วัตถุประสงค์:

เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานใหม่ ของงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ และเปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่าง ก่อน กับ หลังการนำรูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาดำเนินการ จำแนกเป็นรายปี

ระเบียบวิธีวิจัย:

เป็นวิจัยการเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งนำผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติ พัฒนาปรับปรุงผลการปฏิบัติงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ ดำเนินงานในพื้นที่อำเภอเสาไห้ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560 โดยมีการปรับปรุงเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 14 คน เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 10 คน อาสาสมัครสาธารณสุข 659 คน คัดเลือกโดยเลือกทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการวิจัย 1. แผนที่แสดงตำแหน่งบ้าน 2. ตารางแสดงผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายจำแนกตามความถี่ที่สำรวจพบ 3. แบบสรุปผลการสำรวจลูกน้ำยุงลาย 4. แบบรายงานโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (R506) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการศึกษา:

จากการประยุกต์ในแนวทาง 4 M. คือ 1.Mapping การจัดทำแผนที่ระบุตำแหน่งบ้านในละแวกรับผิดชอบของ อสม. เพื่อเตรียมสำรวจ 2.Marking and Mopping ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่พบและบันทึกลงในแผนที่ 3.Monitoring เฝ้าระวังโดยการสำรวจซ้ำทุก 2 เดือน 4.Maintenance) บริหารจัดการให้เกิดความยั่งยืน ผลการดำเนินงาน หลังจากใช้กระบวนการ 4 M. ทำให้ทราบแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายว่าอยู่บริเวณใดบ้าง พบบ่อยเท่าไหร่ และสามารถวางแผนในการบริหารจัดการแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลาของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุข มีผลทำให้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในอำเภอเสาไห้เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาเดียวกันแต่ละปีในมีแนวโน้มลดลง อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มลดลง โดยปี พ.ศ.2558 ก่อนดำเนินการ มีอัตราป่วย 317.12 ต่อแสนประชากรตาม หลังดำเนินการ ปี 2559 และปี2560 มีอัตราป่วย 24.17 12.07 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ:

4 M. เป็นแนวทางการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ระบุปัญหาโดยนำข้อมูลที่ได้มาแสดงให้เห็นเป็นรูปธรรม ง่ายต่อการเข้าใจ และนำข้อมูลมาวางแผนในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และยังเป็นวิธีการที่เหมาะสำหรับบริบทของพื้นที่ชนบท เช่นอำเภอเสาไห้ ที่อาสาสมัครสาธารณสุขส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ไม่ชำนาญในการใช้เทคโนโลยี นอกจากใช้ในการควบคุมโรคไข้เลือดออกแล้ว ยังสามารถประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานอื่นๆ ในรูปแบบที่คล้ายกัน

บทเรียนที่ได้รับ:

การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพต้องระบุปัญหาให้ชัดเจน เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง และยังต้องคำนึงถึงบริบทของพื้นที่ หาแนวทางที่เหมาะสมกับการดำเนินงานในพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้และแก้ไขปัญหาเป็นระยะ ให้ความสำคัญกับทุกภาคส่วน และต้องมีความสม่ำเสมอ จึงจะทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ:

การระบุปัญหาที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมง่ายต่อการทำความเข้าใจ ทำให้แก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง การใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ทำให้การทำงานง่าย ความสม่ำเสมอในการดำเนินงานทำให้เกิดผลงานที่ต่อเนื่อง ความร่วมมือของทุกภาคส่วน และการสนับสนุนของผู้บริหาร ทำให้การดำเนินงานครั้งนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ ทำให้อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของอำเภอเสาไห้ลดลง ตามลำดับ

การสนับสนุนที่ได้รับจากผู้บริหารหน่วยงาน/องค์กร:

การสนับสนุนเชิงนโยบาย พอใจให้คำปรึกษา พอใจ

Keywords:

ไข้เลือดออกแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน่ำยุงลาย แนวทาง 4 M.

เป็นสิ่งประดิษฐ์:

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์:

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน:

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ:

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล
นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย
ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร
จังหวัด
สระบุรี
ภูมิภาค
ภาคกลาง
เขตสุขภาพ
เขตที่ 4
ข้อมูลอื่น ๆ
การสนับสนุน
ไม่ได้รับ
เผยแพร่เมื่อ
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง