งานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก เป็นงานที่มีความสำคัญทางสาธารณสุขเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากโรคได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมากสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงอยู่ คือ การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรค ความรุนแรง พิษภัยของโรคไข้เลือดออก ทำให้ไม่มีการตระหนักในการร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคทำให้มีอัตราการป่วยลดลงและป้องกันการระบาดได้ซึ่งการนำรูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาดำเนินการ พบว่าผลการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ดีขึ้น คือ อัตราการป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง ค่า HI ในชุมชน โรงเรียน และโรงพยาบาล มีค่าลดลงซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย การประเมินพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกของคนในชุมชนเป็นไปในทางที่ดีขึ้น สรุปได้ว่า รูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น เป็นรูปแบบใหม่ที่ดี เหมาะสมกับบริบทของงานควบคุมป้องกันโรค
1.เพื่อลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออก 2.เพื่อให้ประชาชนตระหนักเห็นถึงความสำคัญของพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออก
แบบการวิจัย เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังเชิงพรรณนา ประชากร คือ บ้านในตำบลเสาไห้ทั้งหมด 7 หมู่บ้าน สุ่มทุกหมู่บ้าน หมู่ละ 10 % ของหลังคาเรือน รวม 233 หลังคาเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชน โรงเรียน และโรงพยาบาล โดยใช้ Visual Larva Survey เป็นการสำรวจลูกน้ำยุงลายจากภาชนะน้ำขังที่อยู่ในบริเวณบ้านพักอาศัยโดยไม่ว่าจะเป็นภาชะที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือภาชนะน้ำสะอาดตามธรรมชาติ และบันทึกผลว่าพบลูกน้ำในภาชนะขังน้ำต่างๆหรือไม่ 6 แบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการ แบบบันทึกผู้เข้าร่วมสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ในชุมชน โรงเรียน และโรงพยาบาล นวัตกรรมไฟฉายขยายร่างส่องลูกน้ำยุงลาย ไฟฉาย โทรศัพท์สมาร์ทโฟน วิเคราะห์ข้อมูลโดย จำนวนและร้อยละ อัตราป่วย (ต่อแสนประชากร)
พบว่าการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกตำบลเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี มีอัตราการป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงปี 2558 มีรายงานผู้ป่วย 105 ราย อัตราป่วย 317.12 ต่อแสนประชากร ปี 2559 มีรายงานผู้ป่วย 9 ราย อัตราป่วย 27.15ต่อแสนประชากร ปี 2560 มีรายงานผู้ป่วย 4 ราย อัตราป่วย 12.07 ต่อแสนประชากร ค่า HI (House Index) ในชุมชน ปี 2558 เท่ากับ 20.55 ปี 2559 เท่ากับ 15.67 และปี 2560 เท่ากับ 1.53 ส่วนค่า CI (Container Index) ในโรงเรียน ปี 2558 เท่ากับ 6.27 ปี 2559 เท่ากับ 3.62 และปี 2560 เท่ากับ 0 และค่า CI (Container Index) ในโรงพยาบาล ปี 2558 เท่ากับ 1.54 ปี 2559 เท่ากับ 0.64 ปี 2560 เท่ากับ 0 และพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลเสาไห้ จากการสำรวจพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนทั้ง 7 ชุนชน ในปี 2560 จำนวน 233 หลังคาเรือนเป็นไปในทางที่ดีขึ้น คือ ผ่านเกณฑ์ปฏิบัติเป็นประจำ ร้อยละ ๕๐ ในทุกรายข้อ
การดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยหลักการ SAOHAI MODEL ทำให้เกิดการพัฒนาในงานควบคุมป้องกันโรค
ทำให้ทราบว่าการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกจะต้องทำให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักถึงความรุนแรง ความอันตรายของโรค และมีพฤติกรรมการป้องกันควบคุมป้องกันโรคอย่างถูกวิธี
เกิดจากความร่วมมือกับทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นอสม.ตำบลเสาไห้โรงเรียนอนุบาลเสาไห้อนุบาลบุญเกื้อวิทยาและโรงเรียนเสาไห้"วิมลวิทยานุกูล"กำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่ให้ความร่วมมือในการร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจัดสภาพแวดล้อมรอบบ้านและโรงเรียนให้เหมาะสมและเทศบาลบาลตำบลเสาไห้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำโครงการเพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออกทำให้ในปี2560ตำบลเสาไห้ไม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก
ไม่ได้รับการสนับสนุน
ไข้เลือดออก
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย