ในปัจจุบัน การสื่อสารนับเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวัน ในการสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน การสื่อสารหรือการติดต่อประสานงานของฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู มีเจ้าหน้าที่ธุรการทำหน้าที่สำเนาเอกสารและนำส่งให้กับผู้ที่ต้องการสื่อสาร แต่พบปัญหาหลายประการ เช่น หน่วยให้บริการแบ่งเป็น 7 คลินิกย่อยและอยู่คนละชั้น ทำให้เสียเวลาในการเดินส่งเอกสารหรือการฝากเอกสารไปกับผู้อื่นพบว่าเอกสารสูญหายระหว่างทางบ่อยครั้ง นอกจากนี้จำนวนเจ้าหน้าที่ในหน่วยมีมากขึ้นทุกปีงบประมาณ การสื่อสารด้วยการส่งสำเนาเอกสารจึงทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณในการสำเนาเอกสารมากขึ้น รวมทั้งเจ้าหน้าที่วิชาชีพอาจติดภาระกิจในการให้บริการผู้ป่วย การส่งเอกสารจึงทำให้เจ้าหน้าที่ธุรการเสียเวลารอคอยมากขึ้น จากปัญหาที่พบดังกล่าว การศึกษาในครั้งนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อหาวิธีพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารระหว่างกันภายในหน่วยงาน
-เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการจากการใช้งานการสื่อสารภายในฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟูระบบเดิม -เพื่อพัฒนาระบบการสื่อสารภายในฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟูและประเมินความพึงพอใจหลังการพัฒนาระบบการสื่อสารแบบใหม่
ระเบียบวิธีการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาปัญหาและความต้องการจากการใช้งานการสื่อสารภายในฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟูระบบเดิม ทำการนัดเหมายเพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของกลุ่มตัวอย่างเพื่อใช้เป็นต้นแบบสำหรับการประชุมกลุ่มและนัดหมายกลุ่มเพื่อประชุมกลุ่มเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในระบบการสื่อสารแบบเดิมและความต้องการในระบบการสื่อสารแบบใหม่ระยะที่ 2 การพัฒนาระบบการสื่อสารภายในฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟูและประเมินความพึงพอใจหลังการพัฒนาระบบการสื่อสารแบบใหม่ ทดลองส่งข่าวสารเรื่องแจ้งต่างๆให้กลุ่มประชากรผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และส่งแบบประเมินความพึงพอใจให้กลุ่มประชากรนำมาวิเคราะห์ผลการแจกแจงความถี่ (frequency) หาค่าร้อยละ (percentage) และประเมินผลในรูปมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) มาตรวจนับคะแนนแต่ละข้อ หาค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)
จากการวิจัยครั้งนี้พบว่าปัญหาการสื่อสารภายในฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟูระบบเดิม ในภาพรวมพบว่า ปัญหาส่วนใหญ่มาจากความล่าช้าของเอกสาร ไม่มีเวลาอ่านบอร์ดประกาศซึ่งบอร์ดประกาศเข้าถึงยากและอยู่กระจัดกระจาย รวมทั้งไม่สามารถรักษาความลับของเอกสารได้ สิ้นเปลืองทรัพยากรกระดาษ จากการนำระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้และจัดการระบบการสื่อสารภายในฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟูใหม่ จึงทำให้การส่งเรื่องแจ้งต่างๆนี้มีความสะดวก รวดเร็ว สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งผลจากการประเมินความพึงพอใจ พบว่า กลุ่มประชากรมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากที่สุดในทุกด้านกล่าวคือ ความสะดวก รวดเร็ว การใช้งานง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน มีความทันสมัยและข้อมูลครบถ้วน
ปัจจุบันฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู ได้นำผลการพัฒนาระบบการสื่อสารภายในฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟูมาใช้เป็นประจำในด้านการปฏิบัติงานธุรการและสารบรรณเกี่ยวกับ การส่งข้อมูลต่างๆต่อกันภายในหน่วยงาน การแจ้งเวียนข่าวสาร จดหมายอื่นที่เกี่ยวข้องให้กับบุคลากรทราบ และพบว่าบุคลากรมีความพึงพอใจในการพัฒนางานในครั้งนี้
จากการทำวิจัยในครั้งนี้ ทำให้สามารถค้นพบสาเหตุของปัญหาอย่างแท้จริงจากการปฏิบัติงานประจำ และได้ทราบถึงความต้องการของระบบการสื่อสารภายในฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู แล้วนำไปสู่แนวคิดกระบวนการพัฒนางานประจำที่จะสามารถทำให้งานประจำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยลดระยะเวลาการปฏิบัติงาน เกิดความสะดวกและมีความรวดเร็วยิ่งขึ้นได้
การวิจัยในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกที่สร้างแรงจูงใจ ผลักดันให้บุคลากรเห็นความสำคัญของการทำR2R และได้จัดให้มีการอบรมให้ความรู้โดยจัดหาวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมาให้ความรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจากบุคลากรภายในหน่วยงานร่วมกันคิดวิเคราะห์ปัญหาวิจัยนี้ยังส่งเสริมให้เกิดความภาคภูมิใจจากประสบการณ์การทำผลงานวิชาการ
ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารโดยการสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรของศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกเล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำผลงานวิจัยในครั้งนี้ รวมถึงจัดหาวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัย เป็นแรงผลักดันให้บุคลากรผลิตผลงานวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำ พัฒนาองค์ความรู้อย่างมีคุณภาพ
ไม่มีข้อมูล
ไม่เป็น
การประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 3 หน้า ๗๖ – ๙๔ นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล
มหกรรมวิชาการเขตสุขภาพที่ 5 ณ โรงแรมเฟลิกซ์ ริเวอร์แคว รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี 2559
รางวัลผลงาน ดีเด่น ประเภทการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยระดับสนับสนุนงานบริการ เขตสุขภาพที่ 5 กระทรวงสาธารณสุข 2559