pre-loader image

งานวิจัย R2R

ประเภทของงานวิจัย







ระดับการนำไปใช้งาน





งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์


งานวิจัยได้รับการเผยแพร่


งานวิจัยได้รับรางวัล


การจัดการปัญหายาเหลือใช้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรงพยาบาลห้วยพลู

งานวิจัยปี
คำสำคัญ
ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคเรื้อรัง ไขมันในเลือดสูง
ประเภท
ทุติยภูมิ
ระดับของการนำไปใช้
ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว
ประเด็น
งานเภสัชกรรม/ทันตกรรม (ไม่มี)
ที่มา:

ปัญหายาเหลือใช้ของผู้ป่วยทำให้ค่าใช้จ่ายในการให้บริการทางสุขภาพเพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ผู้ป่วยนำไปใช้ในทางที่ผิดหรือทำให้เกิดอันตราย ถ้าเก็บรักษาไม่ดีหรือเก็บไว้นานเกินไป ยาอาจจะเสื่อมสภาพหรือหมดอายุ ทำให้รักษาโรคไม่หายแล้วยังอาจได้รับอันตรายได้ และเป็นการบ่งบอกถึงปัญหาในการใช้ยาและความต่อเนื่องในการใช้ยาของผู้ป่วยอีกด้วย ผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเหลือใช้และวิธีการจัดการยาเหลือใช้ที่เหมาะสม ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์มีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพและส่งเสริมความเหมาะสมในการใช้ยาของผู้ป่วย ดังนั้นการหาสาเหตุของยาเหลือใช้และพฤติกรรมในการจัดการยาเหลือใช้ของผู้ป่วยจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการปัญหายาเหลือใช้ ส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยา และแก้ปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยได้ตรงประเด็น

วัตถุประสงค์:

1. เพื่อศึกษาสาเหตุการคืนยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรงพยาบาลห้วยพลู 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรงพยาบาลห้วยพลูในการจัดการยาเหลือใช้

ระเบียบวิธีวิจัย:

การวิจัยเชิงสำรวจ ในผู้ป่วยคลินิกโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลห้วยพลูที่นำยาเหลือใช้มามอบให้ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. – 30 ก.ย. 59 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 203 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามสาเหตุการคืนยาเหลือใช้ของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ จำนวน ค่าเฉลี่ย และร้อยละ

ผลการศึกษา:

จากการศึกษาข้อมูลของผู้ป่วยที่นำยามาคืนจำนวน 203 คน แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 86 คน และเพศหญิง 117 คน อายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 60 – 69 ปี จำนวน 111 คน ส่วนใหญ่มีสิทธิการรักษาประเภทบัตรประกันสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 175 คน จากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่นำยาเหลือใช้มาคืน พบว่าสาเหตุหลักเนื่องจากผู้ป่วยได้รับยามากเกินกว่าวันนัด 108 คนรองลงมาคือผู้ป่วยไม่ได้รับประทานยาต่อเนื่อง 70 คน โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะลืมรับประทานยาในบางมื้อ มักจะลืมรับประทานมื้อเช้ามากที่สุด จำนวน 43 คน ซึ่งแยกเป็นสาเหตุย่อย คือ การออกไปทำธุระนอกบ้านช่วงเวลานั้นๆ 19 คน ต้องทำงานประจำทำให้ไม่มีเวลารับประทานยา 10 คน ที่เหลือเกิดจากการลืมและไม่มีผู้ดูแลคอยกระตุ้นให้รับประทานยา 40 คน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีการจัดการยาเหลือใช้โดยนำมาคืนโรงพยาบาลอยู่แล้ว 97 คน รองลงมาคือการรับประทานยาเก่าให้หมดก่อน 77 คน

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ:

1. ทำให้ทราบถึงปัญหาและสาเหตุของยาเหลือใช้ของผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลห้วยพลู 2. เป็นแหล่งข้อมูลเพื่อใช้ในการทบทวนและวางแนวทางในการแก้ปัญหายาเหลือใช้ของโรงพยาบาล

บทเรียนที่ได้รับ:

วิธีการแก้ไขปัญหาทุกอย่าง ต้องศึกษาถึงสาเหตุของปัญหาให้ถ่องแท้เสียก่อน การแก้ไขปัญหาโดยขาดการซักถาม สืบค้นข้อมูลของผู้ป่วย แต่ใช้วิธีกำหนดปัญหาขึ้นมาเองของผู้ปฏิบัติงาน อาจทำให้มองข้ามความต้องการและปัญหาที่แท้จริงของผู้ป่วย

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ:

ความมุ่งมั่น การทำงานเป็นทีมและความร่วมมือร่วมใจที่ดี การให้เกียรติและไว้วางใจศักยภาพการทำงานของเพื่อนร่วมงาน รวมถึงการใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและการประสานงานที่ดีเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่การพัฒนาและความสำเร็จ

การสนับสนุนที่ได้รับจากผู้บริหารหน่วยงาน/องค์กร:

ผู้บริหารให้ความสำคัญและผลักดันนโยบายการจัดการปัญหายาเหลือใช้และการแก้ไขปัญหาการใช้ยาไม่ถูกต้อง/สมเหตุผล สนับสนุนในเชิงขวัญกำลังใจ เปิดโอกาสให้มีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในรพ.และการอบรมเชิงปฏิบัติการอื่นๆ

Keywords:

ไม่มีข้อมูล

เป็นสิ่งประดิษฐ์:

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์:

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน:

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ:

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล
นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย
ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร
จังหวัด
นครปฐม
ภูมิภาค
ภาคกลาง
เขตสุขภาพ
เขตที่ 5
ข้อมูลอื่น ๆ
การสนับสนุน
ไม่ได้รับ
เผยแพร่เมื่อ
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง