การพัฒนาคุณภาพการบริการเป็นนโยบายที่ทุกรัฐบาลให้ความสำคัญและพยายามผลักดัน ซึ่งรพ.สต.เจ็ดริ้ว ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ดำเนินการ โดยมีประชาชนทั้งหมด 3362 คน และทางรพ.สต.เจ็ดริ้ว มีภาระงานหลายด้าน ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการให้บริการแก่ผู้ป่วยมีจำนวนไม่เพียงพอต่อการให้บริการรักษา ณ รพ.สต. จำนวนผู้ป่วยที่รับการรักษา ณ รพ.สต.โดยเฉลี่ย 58 คน/วัน โรคที่รับบริการมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ โรคไข้หวัด/คอหอยอักเสบเฉียบพลัน เวียนศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ แผลต่างๆ และความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ ซึ่งการให้บริการการอยู่ในรูปแบบเจ้าหน้าที่หนึ่งท่าน ซักประวัติ ตรวจอาการวินิจฉัยโรค จ่ายยา/จัดยา และอธิบายยา โดยการจ่ายยารูปแบบเดิมต้องเขียนซองยานับเม็ดยาใส่ซองยาทำให้เกิดความล่าช้าผู้ป่วยรอคอยการจ่ายยานาน จึงพัฒนารูปแบบการจัดยาแบบใหม่(คอนโดยา)เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการรอคอยจ่ายยาแก่ผู้ป่วย
1.เพื่อลดระยะเวลาการรอคอยจ่ายยาแก่ผู้ป่วย 2.เพื่อปรับลดระยะเวลาในการทำงานของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ็ดริ้ว 3.เพื่อปรับลดระยะเวลาในการจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยโดยแยกเป็นกลุ่มโรค 5 กลุ่ม
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาระยะเวลาในการจ่ายยา ได้แก่ ผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ รพ.สต. เจ็ดริ้ว ด้วย 5 โรคหลัก และรับยาแบบมาตรฐาน ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น. ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ – 24 มีนาคม 2560 ไม่รวมวันหยุดราชการ ซึ่งให้บริการโดยน.ส.ธิดารัตน์ อินบางยาง ใช้แบบบันทึกเวลาในการจ่ายยาก่อนและหลังปรับปรุงระบบ แบบบันทึกระยะเวลาการจัดยาใส่คอนโดยา และนาฬิกาจับเวลา ขั้น 1 ศึกษาระยะเวลารอคอยการจ่ายยาแก่ผู้ป่วยก่อนปรับปรุงระบบ ขั้นที่ 2 ศึกษาระยะเวลาการบรรจุยาใส่คอนโดยา ขั้นที่ 3 ศึกษาระยะเวลารอคอยการจ่ายยาแก่ผู้ป่วยหลังปรับปรุงระบบ และวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป และข้อมูลระยะเวลารอคอยการจ่ายยาก่อนและหลังปรับปรุงระบบ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบด้านต่างๆด้วยสถิติ Mann Whitney U test และ Independent Sample t-test
จากการศึกษาการใช้ระบบการจ่ายยาแบบใหม่(คอนโดยา)พบว่า ระยะเวลารอคอยในการรับบริการของผู้รับบริการก่อนและหลังการใช้ระบบการจ่ายยาแบบใหม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 ระยะเวลาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ (ระยะเวลาในการจัดเตรียมยาในคอนโด + ระยะเวลาจัดยา) ก่อนและหลังการใช้ระบบการจ่ายยาแบบใหม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 ระยะเวลาการรอคอยการจ่ายยาแก่ผู้ป่วย จำแนกเป็นรายโรคก่อนและหลังการปรับปรุงระบบ เมื่อเปลี่ยนมาใช้ระบบใหม่ ทำให้ระยะเวลารอคอยการจ่ายยาแก่ผู้ป่วยกลุ่มโรคต่างๆ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และระยะเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่ จำแนกเป็นรายโรคก่อนและหลังการปรับปรุงระบบ เมื่อเปลี่ยนมาใช้ระบบใหม่ ทำให้ระยะเวลาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ในการจัดเตรียมยากลุ่มโรคปวดกล้ามเนื้อ มีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
1.สามารถนำไปปรับใช้กับรูปแบบการจ่ายยาและกลุ่มโรคอื่นๆ ของรพ.สต. 2.สามารถให้เจ้าหน้าที่ท่านอื่นภายในรพ.สต.ได้ใช้คอนโดยาร่วมกันได้ เพื่อลดระยะเวลารอคอยการจ่ายยาของผู้ป่วย และการบริการที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลต่อความพึงพอใจทั้งของผู้ให้และผู้รับบริการ 3.สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยในครั้งต่อไป
เรียนรู้วิธีการในการทำงานวิจัย/R2R 2.ได้ดำเนินการปรับแก้ปัญหาในการทำงานที่มีอยู่ 3.ได้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในรพ.สต. ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี 4.ได้นำผลการวิจัยไปปรับใช้ในการทำงานประจำ 5.เกิดความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่และความพึงพอใจในรับการบริการของผู้ป่วยปัจจัยแห่งความสำเร็จ
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เกิดจากสำนักงานกระทรวงสาธรณสุขจังหวัดสมุทรสาครได้การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการให้ความรู้กระบวนการงานวิจัย/R2R ทำให้เกิดมุมมองในการทำงานปัจจุบันพบว่ามีปัญหาในการรอคอยการจ่ายยาแก่ผู้ป่วย จึงได้มีการปรึกษาพูดคุยภายในรพ.สต.เพื่อหาทางปรับแก้ และยังมีปัจจัยจากการผลักดันและสนับสนุนภายในรพ.สต.และสำนักงานสาธรณสุขอำเภอบ้านแพ้ว จึงทำให้เกิดการวิจัยครั้งนี้ขึ้น
ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกระทรวงสาธรณสุขจังหวัดสมุทรสาคร ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการให้ความรู้กระบวนการงานวิจัย/R2R สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านแพ้ว ผอ.รพ.สต. คณะเจ้าหน้าที่ใน รพ.สต. เจ็ดริ้ว ดร.มาศโมฬี จิตวิริยธรรม และทีมงาน FA ของจังหวัดสมุทรสาคร ในการให้ความรู้ ชี้แนะแนวทางและให้คำปรึกษา
ไม่มีข้อมูล
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย