ผู้ทำหน้าที่เลี้ยงดูเด็กกำพร้าถูกทอดทิ้ง มักต้องเผชิญกับพฤติกรรมไม่พึงค์ประสงค์ต่างๆ นานาของเด็ก เพื่อเรียกร้องความรักความสนใจอย่างไม่เหมาะสม ทำให้ผู้เลี้ยงดูเกิดความเครียดและวิตกกังวล หากไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยา ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจยุติบทบาทในการทำหน้าที่ ทำให้ต้องเปลี่ยนผู้เลี้ยงดูซึ่งส่งผลไม่ดีต่อสุขภาวะของเด็ก หมู่บ้านเด็ก ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ของมูลนิธิสงเคราะห์เด็กสภากาชาดไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกันเนื่องจากแม่และน้าที่ทำหน้าที่เลี้ยงดูเด็กทั้งหมดเป็นสาวโสด ไม่มีประสบการณ์เลี้ยงดูเด็กมาก่อน ส่งผลให้อัตราการลาออกสูง ผู้วิจัยเป็นคณะทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เข้าไปช่วยเหลือแม่และน้าให้สามารถปรับตัวในการทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงสนใจที่จะนำการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธมาช่วยเหลือแม่และน้า
เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธต่อความวิตกกังวลของผู้ดูแลเด็กกำพร้าและถูกทอดทิ้ง
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลก่อนและหลังให้คำปรึกษา (One group pretest-posttest design) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ทำหน้าที่ แม่และน้าในการดูเลี้ยงดูเด็กกำพร้าและถูกทอดทิ้ง หมู่บ้านเด็ก ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ทั้งหมด 11 ราย เปรียบเทียบคะแนนความวิตกกังวลของแม่และน้าก่อนทดลอง 1 ครั้ง ระหว่างการทดลอง 4 ครั้งและหลังสิ้นสุดการทดลอง 1 ครั้ง ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2555 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS โดยใช้สถิติพรรณา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนความวิตกกังวลเฉลี่ยก่อน-หลังด้วยโปรแกรมการทดสอบ paired t-test
ผลการศึกษาพบว่า แม่และน้าที่จำนวน 11 ราย ทั้งหมดเป็นผู้หญิงและนับถือศาสนาพุทธ อายุระหว่าง 24 – 41 ปี อายุเฉลี่ย เท่ากับ 30.91 ปี (SD = 5.32) ระยะเวลาปฏิบัติงานเลี้ยงดูเด็กกำพร้าที่หมู่บ้านเด็ก ระหว่าง 1 – 17 เดือน ระยะเวลาปฏิบัติงานเฉลี่ย เท่ากับ 9.91 เดือน (SD = 6.39) วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวล ที่วัดก่อนการทดลอง 1 ครั้ง (Pre - test) เปรียบเทียบกับคะแนนความวิตกกังวลระหว่างการทดลอง 4 ครั้ง (Post test 1 Post test 2 Post test 3 Post test 4) และหลังสิ้นสุดการทดลองทันที 1 ครั้ง (Post test 5) พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวล ก่อนเข้าร่วมการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธและหลังข้าร่วมการให้คำปรึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
โปรแกรมจิตวิทยาแนวพุทธที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการช่วยเหลือผู้ที่มีความเครียดทางด้านจิตใจ ทั้งบุคคลปกติและผู้ที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต
แก่นธรรมทางพุทธศาสนาที่นำมาใช้ผสมผสานกับเทคนิคการให้คำปรึกษาแนวตะวันตก สามารถประยุกต์หลักธรรมหมวดใดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นกับบริบทปัญหาของผู้รับคำปรึกษาเป็นสำคัญ แต่สิ่งที่ควรมีเสมอ ได้แก่ การฝึกอานาปานสติ รวมทั้งการแผ่เมตตาให้ตนเองและผู้อื่น ช่วยให้จิตใจผ่อนคลายได้ดี
แม่และน้าทุกคนร่วมมือและให้ความสำคัญในการเข้าร่วมการให้คำปรึกษาทุกครั้ง ผู้อำนวยการหมู่บ้านเด็กสานต่อคำแนะนำต่างๆ จากผู้วิจัย นำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เช่น การนิมนต์พระสงฆ์มารับบิณฑบาต เพื่อให้แม่ น้า และเด็กๆ ทุกคน ได้ใส่บาตรร่วมกันในวันอาทิตย์
สนับสนุนงบประมาณและบุคลากรช่วยเหลือ พาหนะเดินทาง และเวลาในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่
ไม่มีข้อมูล
ไม่เป็น
ไม่เคย
งานประชุมวิชาการศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก โรงแรมเอสดีอเวนิว
ไม่เคย