pre-loader image

งานวิจัย R2R

ประเภทของงานวิจัย







ระดับการนำไปใช้งาน





งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์


งานวิจัยได้รับการเผยแพร่


งานวิจัยได้รับรางวัล


ปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Carbapenem-resistant Acinetobacter baumanii ณ โรงพยาบาลหัวหิน

งานวิจัยปี
คำสำคัญ
ดื้อยา ติดเชื้อ ปอด ระบบทางเดินปัสสาวะ หัว เลือด โรคติดเชื้อ
ประเภท
ตติยภูมิ
ระดับของการนำไปใช้
ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว
ประเด็น
งานเภสัชกรรม/ทันตกรรม
ที่มา:

ในปัจจุบันอุบัติการณ์ของ Acinetobacter baumannii ที่ดื้อยากลุ่มคาร์บาพีเนมเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเชื้อมีหลายกลไกในการดื้อยา การรักษาด้วยยาต้านจุลชีพจึงมีความยุ่งยากซับซ้อน อีกทั้งโรคติดเชื้อที่มีสาเหตุจาก A. baumannii ก่อให้เกิดทุพพลภาพและเสียชีวิตได้สูง ในแง่ของการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล เชื้อ A. baumannii เป็นแบคทีเรียที่คงทนอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นเวลานาน ทำให้ A. baumannii เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่สำคัญทั้งการติดเชื้อที่ปอด การติดเชื้อในเลือด การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น ซึ่งการทราบการแพร่กระจายในโรงพยาบาล นับได้ว่าเป็นวิถีทางหนึ่งในการจัดการเชื้อได้ โรงพยาบาลหัวหินเป็นโรงพยาบาลทั่วไป ที่มีปัญหาการดื้อยาเพิ่มสูงขึ้น จากการผลความไวของเชื้อต่อยาในปี พ.ศ. 2553 ในเชื้อ MDR-AB (ดื้อต่อยา ceftazidime ciprofloxacin และ aminoglycoside) มีความไวต่อยา imipenem เพียงร้อยละ 1 เท่านั้น ดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ ทั้งการทราบชนิดการดื้อยาการควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล รวมถึงปัจจัยที่มีต่อผลลัพธ์การรักษาของผู้ป่วย เพื่อนำข้อมูลมาเป็นประโยชน์แก่โรงพยาบาลต่อไป

วัตถุประสงค์:

เพื่อศึกษาร้อยละของการเสียชีวิตในช่วง 30 วัน และ ร้อยละของผู้ป่วยที่ล้มเหลวจากการรักษาโรคติดเชื้อ carbapenem-resistant Acinetobacter baumanii และศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตและการล้มเหลวจากการรักษา

ระเบียบวิธีวิจัย:

การศึกษาย้อนหลังแบบไปข้างหน้า(Retrospective cohort study)จากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ติดเชื้อ CRAB ณ โรงพยาบาลหัวหิน ตั้งแต่มกราคม 2555– ธันวาคม2555

ผลการศึกษา:

ผลการศึกษามีผู้ป่วยเข้าการศึกษาทั้งสิ้น 73 คนพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 57.5 และมีผู้ป่วยล้มเหลวจากการรักษาร้อยละ 61.6 ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตได้แก่ การได้รับยาต้านจุลชีพที่เหมาะสม (OR 0.22;95%CI 0.08-0.62) และภาวะช็อก (OR 5.80;95%CI 1.19-28.20) และปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์การล้มเหลวจากการรักษา ได้แก่ การได้รับยาต้านจุลชีพที่เหมาะสม (OR 0.11;95%CI 0.03-0.37) และภาวะช็อก (OR 10.97;95%CI 1.35-89.34) เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแบบ multivariate พบว่าการได้รับยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและการล้มเหลวจากการรักษา

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ:

จากผลการวิจัยทำให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยที่ติดเชื้อCarbapenem-resistant Acinetobacter baumaniiจึงสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผนในการรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

บทเรียนที่ได้รับ:

นำข้อมูลมาพัฒนาในการวางแผนการรักษาผู้ป่วยเกี่ยวกับการใช้ยาต้านจุลชีพให้เหมาะสมต่อไป

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ:

ได้รับความร่วมมือสนับสุนนงานวิชาการระหว่างโรงพยาบาลหัวหินและมหาวิทยาลัยศิลปากร มีที่ปรึกษาที่เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ความร่วมมือจากทีมสหสาขาวิชาชีพ

การสนับสนุนที่ได้รับจากผู้บริหารหน่วยงาน/องค์กร:

ผู้บริหารให้ความสำคัญในการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยในโรงพยาบาลหัวหิน

Keywords:

ไม่มีข้อมูล

เป็นสิ่งประดิษฐ์:

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์:

Silpakorn U science & Tech.J.2014ฉบับที่8เล่มที่1หน้า9-17

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน:

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ:

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล
นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย
ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร
จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์
ภูมิภาค
ภาคตะวันตก
เขตสุขภาพ
เขตที่ 5
ข้อมูลอื่น ๆ
การสนับสนุน
ไม่ได้รับ
เผยแพร่เมื่อ
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง