pre-loader image

งานวิจัย R2R

ประเภทของงานวิจัย







ระดับการนำไปใช้งาน





งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์


งานวิจัยได้รับการเผยแพร่


งานวิจัยได้รับรางวัล


การประยุกต์ระบบประชุม 3 สาย ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในงานรับ-ส่งต่อผู้ป่วย รพ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ปีงบประมาณ 2554-2556

งานวิจัยปี
คำสำคัญ
หลัง
ประเภท
บริหาร
ระดับของการนำไปใช้
ระดับที่ 3 นำไปใช้ได้หลายแห่งในจังหวัดเดียวกันแล้ว
ประเด็น
การบริหาร/พัฒนาระบบ/เศรษฐศาสตร์/นโยบาย
ที่มา:

การรับ-ส่งต่อผู้ป่วยเป็นงานที่สำคัญยิ่ง เนื่องจากช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วย ลดภาวะแทรกซ้อน; การแจ้งข้อมูลการเจ็บป่วย การรักษา ก่อนที่ผู้ป่วยจะมาถึงจึงมีความสำคัญ

วัตถุประสงค์:

เพื่อพัฒนาและประยุกต์หลักการต่อและรับโทรศัพท์ระบบประชุม 3 สายผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ มาใช้ในการรับ-ส่งต่อผู้ป่วย

ระเบียบวิธีวิจัย:

การวิจัยพัฒนาเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผล ก่อน-หลัง การทดลอง หลายครั้งนี้ นำไปทดลองที่ รพ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ และ รพ.เครือข่าย 7 แห่ง ในช่วง 1 ตุลาคม 2553 ถึง 30 กันยายน 2556 ประชากร คือ จำนวนการประชุมสาย “รับ”ผู้ป่วย รวม 7789 ครั้ง และ มาโดย Ambulance รวม 6935 ครั้ง และ จำนวนการประชุมสาย “ส่ง”ผู้ป่วย รวม 6679 ครั้ง และ ส่งโดย Ambulance รวม 3084 ครั้ง โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของรพ.นางรอง 32 คน แพทย์จาก รพ.เครือข่าย 33 คน จนท.งานรับ-ส่งต่อผู้ป่วย รพ.นางรอง 14 คน รวม 79 คน ใช้ประชากรทั้งหมด เป็นกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา และ การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา:

หลังการทดลอง ผู้ป่วยทุกรายที่ส่งต่อจากรพ.เครือข่ายและมาโดย Ambulance ได้รับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกราย แพทย์จาก รพ.เครือข่ายได้ปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญภายใน 5 นาที เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 95.67 ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาเมื่อแรกรับ ภายใน 5 นาที เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 96.33 รับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง STEMI ให้การดูแลที่รพ.นางรองและส่งต่อถึงรพ.มหาราชนครราชสีมาและปลอดภัย เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 98.21 ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อด้วย Ambulance จาก ร.พ.นางรอง ภายใน 15 นาที เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 91.37 ความพึงพอใจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ร้อยละ 97.43 ความพึงพอใจของแพทย์จาก รพ.เครือข่ายร้อยละ 96.14 ความพึงพอใจของจนท.งานรับ-ส่งต่อ ร้อยละ 94.23 ค่าใช้จ่ายในการใช้โทรศัพท์และประชุมสาย 7500 บาท/เดือน

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ:

รูปแบบการส่งข้อมูลผู้ป่วยโดยการประชุม 3 สาย เป็นรูปแบบที่ดีและเหมาะสมกับพื้นที่วิจัย เนื่องจากเป็นการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว เข้าถึงง่าย ประหยัดเวลา/ค่าใช้จ่าย ได้ข้อมูลครบถ้วนและชัดเจน สามารถปรับปรุงการใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง โดยใช้ผู้รับบริการและพื้นที่เป็นศูนย์กลาง ด้วยการจัดระบบงานและผู้รับโทรศัพท์ เพื่อรับข้อมูลตั้งแต่แรก จนกระทั่งผู้ป่วยมาถึง ตลอด 24 ชั่วโมง ได้กำหนดวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร ง่ายต่อการเรียนรู้และปฏิบัติ มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จนเป็นตัวแบบที่ทำได้จริง อย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม

บทเรียนที่ได้รับ:

เป็นการสื่อสารตรง ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย สะดวก รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ เป็นการสื่อสารสองทางที่สามารถโต้ตอบกันได้ทันที สามารถประชุมร่วมกันจากหลายๆ ที่ได้ในเวลาเดียวกัน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ:

การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา การมุ่งมั่นและตั้งใจของทีมงาน มีระบบงานที่ดี มีผู้ปฏิบัติงานดี การติดต่อสื่อสารที่สะดวก รวดเร็ว ได้ข้อมูลครบถ้วนและเอื้ออำนวยต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง งานจึงสำเร็จและมีประสิทธิภาพ

การสนับสนุนที่ได้รับจากผู้บริหารหน่วยงาน/องค์กร:

ได้รับความเห็นชอบ และการสนับสนุนจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลและคณะกรรมการบริหาร ด้านงบประมาณ ให้ข้อสังเกต คำแนะนำ การจัดระบบและการปฏิบัติงาน

Keywords:

ไม่มีข้อมูล

เป็นสิ่งประดิษฐ์:

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์:

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน:

วิชาการระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดเชียงใหม่

รางวัลที่ได้รับ:

รองชนะเลิศอันดับ 2 สัมมนาวิชาการไร้รอยต่อระบบส่งต่อผู้ป่วยและการดูแลผู้ป่วยกลุ่มอต.ตายสูง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รพ.ศูนย์ขอนแก่น

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล
นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย
ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร
จังหวัด
บุรีรัมย์
ภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เขตสุขภาพ
เขตที่ 9
ข้อมูลอื่น ๆ
การสนับสนุน
ไม่ได้รับ
เผยแพร่เมื่อ
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง