pre-loader image

งานวิจัย R2R

ประเภทของงานวิจัย







ระดับการนำไปใช้งาน





งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์


งานวิจัยได้รับการเผยแพร่


งานวิจัยได้รับรางวัล


การพัฒนาแนวทางการให้เลือดที่มีคุณภาพและปลอดภัย ของงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลห้วยพลู

งานวิจัยปี
คำสำคัญ
หลัง เลือด
ประเภท
ไม่มีข้อมูล
ระดับของการนำไปใช้
ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว
ประเด็น
การสนับสนุนบริการ ธุรการ,IT,ห้อง Lab,x-ray อื่นๆ
ที่มา:

การรักษาโดยการให้เลือดเป็นการรักษาที่มีอันตรายและอาจเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนจนถึงแก่ชีวิตได้ องค์การอนามัยโลกจึงกำหนดให้เรื่องการให้โลหิตที่ปลอดภัยเป็นหนึ่งใน Patient Safety Goals ในโรงพยาบาลห้วยพลูมีผู้ป่วยที่รับโลหิต ตั้งแต่ปี 2552 ถึงปี 2556 เป็นจำนวน 2021 คน รวมทั้งสิ้น 2579 ยูนิต พบอุบัติการณ์ให้โลหิตผิดจำนวน 1 รายในปี 2553 จากอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น บุคลากรที่เกี่ยวข้องในบริการให้โลหิตแก่ผู้ป่วยได้พัฒนารูปแบบและแนวทางการให้โลหิตที่ปลอดภัยตามมาตรฐานวิชาชีพขึ้น

วัตถุประสงค์:

1.เพื่อพัฒนาแนวทางการให้โลหิตที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน 2.เพื่อการเปรียบเทียบแนวทางการให้โลหิตที่ปลอดภัย ก่อนและหลังปรับเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติ 3.เพื่อพัฒนาหรือจัดทำเป็นคู่มือหรือแนวทางในการปฏิบัติต่อไป

ระเบียบวิธีวิจัย:

แบบการวิจัย แบบทดลอง ด้วยการวิจัยแบบกลุ่มเดี่ยว วัดก่อนและหลังการปรับเปลี่ยนแนวทาง เพื่อนำไปใช้ในกลุ่มประชากรตัวอย่างคือ ผู้ป่วยทั้งหมดที่มารับเลือดที่โรงพยาบลห้วยพลู จำนวนทั้งสิ้น 1565 คน สิ่งที่ใช้ในการทดลองคือ รูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยมีการปรับปรุงเป็นระยะ นำไปใช้ในกระบวนการเบิกโลหิตของโรงพยาบาล ระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2553 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบบันทึกในกระบวนการเบิกโลหิต

ผลการศึกษา:

พบว่าผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลห้วยพลู ระหว่างปีพ.ศ. 2554-2556 จำนวน 675 คน ใช้โลหิต 887 ยูนิต ไม่พบอุบัติการณ์ให้โลหิตผิดคนผิดหมู่โลหิต หลังจากได้มีการพัฒนาแนวทางการให้โลหิตรูปแบบใหม่ โดยการพัฒนาแบบฟอร์มที่ระบุข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับผู้ป่วยที่รับโลหิต คือ ชื่อ-สกุล อายุ HN วันที่ขอโลหิต หมู่โลหิต การวินิจฉัยชนิดของโลหิต จำนวนที่ขอ และชื่อแพทย์ผู้สั่งขอโลหิต ทำให้ผู้ป่วยได้รับโลหิตอย่างถูกต้อง มีคุณภาพและความปลอดภัยมากขึ้น ตลอดจนนำสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ:

นำข้อมูลที่ค้นพบและพัฒนาจากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบายโดยมีการพัฒนาคู่มือการให้โลหิตอย่างเป็นรูปธรรม และมีการประสานงานระหว่างสหสาขาวิชาชีพเพื่อเพิ่มคุณภาพของการให้บริการ

บทเรียนที่ได้รับ:

การทบทวนเหตุการณ์ความเสี่ยงและการทบทวนเหตุการณ์ขณะดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องนำมาสู่การวิเคราะห์ RCA ช่วยในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีคุณภาพและปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ:

สามารถนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำแนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับโลหิต ในเรื่องการกำหนดทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อให้เป็นทีมดูแลผู้ป่วย การกำหนดผู้จัดการในการจัดทำแบบแผนและการดูแล การกำหนดข้อปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับโลหิต

การสนับสนุนที่ได้รับจากผู้บริหารหน่วยงาน/องค์กร:

การนำแนวปฏิบัติทางคลินิกไปใช้จะประสบความสำเร็จได้ ต้องได้รับความร่วมมือจากทีมสหสาขาฯ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของงานเทคนิคการแพทย์ที่จะทำให้เกิดความร่วมมือดังกล่าว ในการเพิ่มคุณภาพการดูแล ลดระยะวันนอนโรงพยาบาล ประหยัดค่าใช้จ่ายและผู้รับบริการพึงพอใจ

Keywords:

ไม่มีข้อมูล

เป็นสิ่งประดิษฐ์:

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์:

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน:

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ:

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล
นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย
ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร
จังหวัด
นครปฐม
ภูมิภาค
ภาคกลาง
เขตสุขภาพ
เขตที่ 5
ข้อมูลอื่น ๆ
การสนับสนุน
ไม่ได้รับ
เผยแพร่เมื่อ
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง