pre-loader image

งานวิจัย R2R

ประเภทของงานวิจัย







ระดับการนำไปใช้งาน





งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์


งานวิจัยได้รับการเผยแพร่


งานวิจัยได้รับรางวัล


"กำจัดชุดอ่อน"การเรียกขอจนท.เวรเปล

งานวิจัยปี
คำสำคัญ
หน้า
ประเภท
ไม่มีข้อมูล
ระดับของการนำไปใช้
ระดับที่ 2 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองและหน่วยงานอื่น ๆ ในองค์กรแล้ว
ประเด็น
การสนับสนุนบริการ ธุรการ,IT,ห้อง Lab,x-ray อื่นๆ
ที่มา:

ศูนย์การแพทย์ฯเป็นรพ.ที่มีผู้ป่วยสูงอายุส่วนใหญ่ที่จำเป็นต้องใช้บริการรถเข็นนั่ง/เปลนอน จากสถิติเฉลี่ยปี55-56 มีจำนวน 135และ170ราย/วัน จากปัญหาการโทรศัพท์ขอจนท.เวรเปลของหน่วยงานต่างๆ พบว่าผู้ป่วยต้องรอนาน จากการทบทวนระบบพบว่าสาเหตุเกิดจากปริมาณผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งจากเหตุที่ขอใช้บริการแล้วไม่เกิดประโยชน์กับงาน (WASTE)ได้แก่ โทรขอจนท.ซ้ำซ้อน ยกเลิกใช้งานแต่ไม่โทรแจ้งทำให้จนท.ไปแล้วต้องเสียเวลาเดินกลับ ไปถึงแล้วผู้ป่วยยังไม่พร้อมเคลื่อนย้าย ทำให้ต้องเสียเวลารอผู้ป่วยนานซึ่งบางครั้งต้องยกเลิกแล้วโทรขอใหม่ หรือโทรขอจนท.ไม่เหมาะสมกับภาระงาน เช่น ผู้ป่วยมาคนเดียวให้เข็นไปทำธุระส่วนตัว หาซื้ออาหารกลับบ้าน ฯลฯ ผู้วิจัยเห็นว่าเหล่านี้เป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ถ้าแก้ปัญหาให้ตรงจุด โดยการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานให้เหมาะสม แต่หากละเลยไม่แก้ปัญหา อาจส่งผลกระทบต่อระบบการให้บริการที่ดี

วัตถุประสงค์:

1.เพื่อวิเคราะห์ปัญหาสาเหตุการเรียกขอใช้จนท.เวรเปลโดยไม่เกิดประโยชน์กับงาน (Waste) 1.เพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบการเรียกขอใช้บริการจนท.เวรเปลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ระเบียบวิธีวิจัย:

เป็นการวิจัยพัฒนา (Research Development)แบบศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study)เพื่อนำผลวิจัยที่ได้ไปพัฒนางานประจำ โดยเก็บข้อมูลการเรียกขอใช้จนท.เวรเปลจากหน่วยงานต่างๆ ในศูนย์การแพทย์ฯเป็นเวลา 3 เดือน (1ธ.ค.56-28ก.พ.57)จำนวนทั้งสิ้น 96 ครั้ง ทำแบบบันทึกข้อมูลให้จนท.เวรเปลลงบันทึก แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานด้วยค่าสถิติพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ โดยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานดังกล่าวได้มีส่วนร่วมในการปรับปรุงพัฒนาขั้นตอนกระบวนการปฏิบัติงานเป็นระยะ

ผลการศึกษา:

พบว่า การเรียกขอใช้จนท.เวรเปลโดยไม่เกิดประโยชน์กับงาน (Waste)3เดือน จำแนกเป็น ธ.ค.56=23ครั้ง เสียเวลาไป290 นาที เป็นระยะทาง3.38กิโลเมตร/ม.ค.57=35ครั้ง เสียเวลาไป 340นาที เป็นระยะทาง4.25กิโลเมตร/ก.พ.57= 38ครั้ง เสียเวลาไป319นาที เป็นระยะทาง4.36กิโลเมตร/รวม 96 ครั้ง เสียเวลาไปทั้งสิ้น 949นาที(15ชั่วโมง 49 นาที) เป็นระยะทางรวม 11.99กิโลเมตร โดยมีสาเหตุอันเนื่องจาก เรียกขอจนท.ซ้ำซ้อนกันเมื่อขอแล้วยกเลิกโดยไม่แจ้งจนท.เวรเปล 45 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 46.88 เรียกขอจนท.ไปแล้วโดยผู้ป่วยยังไม่พร้อมเคลื่อนย้ายทำให้ต้องเสียเวลารอนานหรือต้องยกเลิกแล้วขอใหม่ 26 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 27.08 เมื่อจนท.ไปถึงหน้างานแล้วขออุปกรณ์เช่นรถเข็น ออกซิเจน หรือต้องการจนท.ช่วยยกเพิ่มทำทำให้เสียเวลาเดินกลับไปมา 2รอบผู้ป่วยต้องรอนาน 6 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 6.25 สาเหตุอื่นๆ19ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 19.79

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ:

ทำให้เกิดการปรับปรุงพัฒนากระบวนการโดยได้รับความร่วมมือในการเรียกใช้งานจนท.เวรเปลตามความเหมาะสมจำเป็นและตรงกับภาระงาน ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดอัตรากำลังได้อย่างเหมาะสมกับภาระงาน ลดการสูญเสียงาน/เสียเวลาและสูญเสียพลังงานที่ไม่เกิดประโยชน์ ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักถึงความจำเป็นก่อนที่จะเรียกขอจนท.เวรเปล และมีแนวทางปฏิบัติในการเรียกใช้งานบริการจนท.เวรเปลอย่างเป็นระบบ

บทเรียนที่ได้รับ:

ความร่วมมือกันภายในทีม ในการทำงานประจำสามรถนำมาปรับปรุงพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานได้อย่างง่ายๆและตรงกับปัญหาที่พบ ได้เกิดการเรียนรู้วิธีการคิดแบบ PDCA ร่วมกันในทีม

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ:

ความตั้งใจของผู้วิจัยและความร่วมมือของทีมจนท.เวรเปล และผู้ที่เกี่ยวข้องในการที่จะร่วมกันพัฒนางาน

การสนับสนุนที่ได้รับจากผู้บริหารหน่วยงาน/องค์กร:

หัวหน้าหน่วยให้คำปรึกษา ชี้แนะแนวทาง ร่วมในการผลักดันให้สามารถทำผลงานจนสำเร็จ ให้กำลังใจเมื่อเกิดปัญหา มีทุนการวิจัยเพื่อเป็นกำลังใจในการทำงานวิจัย และผู้บริหารให้ความสาคัญกับงานวิจัยที่ทำ โดยมีส่วนในการปรับหรือออกนโยบายสนับสนุนแก้ปัญหาพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

Keywords:

ไม่มีข้อมูล

เป็นสิ่งประดิษฐ์:

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์:

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน:

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ:

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล
นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย
ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร
จังหวัด
นครปฐม
ภูมิภาค
ภาคกลาง
เขตสุขภาพ
เขตที่ 5
ข้อมูลอื่น ๆ
การสนับสนุน
ไม่ได้รับ
เผยแพร่เมื่อ
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง