ในประเทศไทยโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประชากร โดยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2553 พบว่า มีคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเฉลี่ย 156 รายต่อวัน ผู้ป่วยระยะสุดท้าย มีความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผู้ป่วยและครอบครัวจึงมีความต้องการการดูแลในมิติองค์รวมจากทีมสุขภาพ พยาบาลเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่มีบทบาทสำคัญในการบำบัดดูแลอย่างเอื้ออาทร โรงพยาบาลห้วยพลูมีผู้ป่วยมะเร็งที่เป็นผู้ป่วยใน ปีพ.ศ. 2552-2553 จำนวน 58 และ 70 คน ตามลำดับ เกือบร้อยละ 50 เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทางโรงพยาบาลห้วยพลูจึงเห็นความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โดยใช้หลัก Palliative Care เพื่อลดความเจ็บปวดทรมาน ให้ผู้ป่วยได้รับตอบสนองความต้องการในระยะสุดท้ายของชีวิต และจากไปอย่างสงบสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในมิติองค์รวม 2.เพื่อเปรียบเทียบผลระหว่างก่อนกับหลังการนำรูปแบบใหม่ไปดำเนินการในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลรักษาแบบ PalliativeCare
เป็นการวิจัยพัฒนาเชิงทดลอง ( Experimental Development Research ) แบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินระดับผู้ป่วยในระยะคุกคามชีวิต ที่พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการประเมินความสามารถในการดูแลตัวเองในชีวิตประจำวันด้านต่างๆของผู้ป่วย Palliative Care ได้แก่ แบบประเมิน PPS และ ESAS โดยมีการปรับปรุงเป็นระยะ นำไปใช้กับผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมดที่นอนพักรักษาในโรงพยาบาลห้วยพลู ในช่วง พ.ศ. 1 มีนาคม พ.ศ. 2554 – 30 กันยายน พ.ศ. 2556 จำนวน 201 คน จำแนกเป็น 3 ระยะ คือ ก่อนทดลอง ระหว่างทดลอง และหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบบันทึกการประเมินผู้ป่วย นำข้อมูลที่ได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนแล้ววิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS version 16 สถิติที่ใช้ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
จากข้อมูลพบว่า อัตราผู้ป่วยโรคมะเร็งมีระดับอาการรบกวนลดลง ในปี พ.ศ.2554-2556 เท่ากับร้อยละ 86.6 84.3 และ 87.9 ตามลำดับ ในขณะที่อัตราความพึงพอใจต่อการให้บริการเท่ากับร้อยละ 89.4 90.2 และ 95.1 ตามลำดับ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายเสียชีวิตอย่างสงบและสมศักดิ์ศรีที่ รพ.ห้วยพลู โดยเฉลี่ยปีละ 7 คน ซึ่งมีผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้าย 1 คน ที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง และบรรเทาอาการรบกวนต่าง ๆ โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถมีชีวิตอยู่ได้ถึง 3 ปี มีผู้ป่วยระยะสุดท้ายขอกลับไปเสียชีวิตที่บ้านเฉลี่ยปีละ 3 คน โดยมีรถโรงพยาบาลไปส่งทุกราย ผู้ป่วยได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวในช่วงวาระสุดท้ายก่อนเสียชีวิตประมาณ 11 ชั่วโมง รูปแบบที่พัฒนาขึ้นด้วยการใช้แบบประเมินทำให้สามารถตอบสนองได้ตามความต้องการของผู้ป่วยและญาติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นแนวทางเดียวกัน
1.สามารถตอบสนองตรงความต้องการของผู้ป่วยระยะสุดท้ายและญาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.ได้ตัวอย่างของการทำงานประจำสู่การวิจัยที่ดีและมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนางานที่รับผิดชอบได้ด้วยการระดมทรัพยากรที่มีอยู่ เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยระยะสุดท้าย 3.ได้นำกระบวนการพัฒนารูปแบบและการนำรูปแบบไปดำเนินการที่ใช้ในการวิจัยนี้ ไปประยุกต์ขยายผลและต่อยอดในงานประจำของทั้งงานในและนอกโรงพยาบาล
การใช้แบบประเมินที่พัฒนาขึ้นทำให้สามารถประเมินผู้ป่วยได้ครบถ้วนและไม่เกิดความผิดพลาดในการแก้ไขปัญหาของผู้ป่วย เนื่องจากอาการรบกวนต่างๆ ในผู้ป่วยแต่ละรายอาจไม่เท่ากัน โดยผู้ประเมินสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงอาการได้อย่างต่อเนื่อง และเน้นการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยแบบเฉพาะราย
ความร่วมมือของสหสาขาวิชาชีพในการดูแลแบบ Palliative Care การมุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ตลอดจนการประสานงานที่ระหว่างทีมการดูแลผู้ป่วย ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รวมถึงการมีส่วนร่วมของญาติในการดูแลและให้กำลังใจผู้ป่วยมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
ผู้บริหารมีนโยบายที่ชัดเจนในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย การสนับสนุนบุคลากรโดยให้โอกาสในการพัฒนาและดำเนินงาน อย่างจริงจังแต่ต่อเนื่อง รวมถึงการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ของทีมการดูแล
ไม่มีข้อมูล
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย