ระบบการส่งต่อผู้ป่วย (Referral System) หมายถึง การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยระหว่างสถานพยาบาล เพื่อขอรับบริการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนการรับส่งต่อ/ขณะรับส่งต่อ และหลังการรับส่งต่อ โดยเป็นกลไกลหลักของการจัดระบบบริการสุขภาพซึ่งเป็นนโยบายหลักสำคัญที่ภาครัฐจัดขึ้นเพื่อให้บริการแก่ประชาชนอย่างมีคุณภาพ รวดเร็วตามความรุนแรงของโรค เหมาะสมกับปัญหา เน้นความปลอดภัยของผู้ป่วย ถูกต้องตามสิทธิหลักประกันสุขภาพและถูกใจตามความต้องการของผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ และผู้บริหาร จะเห็นได้ว่าระบบขั้นตอนการส่งต่อที่ซับซ้อนยุ่งยากบางขั้นตอนต้องทำซ้ำไปซ้ำมา อีกทั้งปัญหาที่เกิดจากความไม่พร้อมด้านบุคลากร อุปกรณ์ สถานที่ นโยบายและกฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการนำไปปฏิบัติงานจริง
เพื่อพัฒนาระบบบริการงานส่งต่อผู้ป่วย ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก โดยการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่างระบบบริการเดิมกับระบบบริการที่พัฒนาขึ้นใหม่
เป็นวิจัยพัฒนาเชิงทดลอง สิ่งที่ใช้ในการทดลอง คือ ระบบบริการงานส่งต่อผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น โดยนำหลักวิชาการและมาตรฐานการให้บริการที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก โดยใช้ผู้รับบริการ ผู้ให้บริการและผู้บริหารเป็นศูนย์กลาง นำไปทดลองใช้เป็นเวลา 10 เดือน ในช่วง 1 มีนาคม 2555 ถึง 31 ธันวาคม 2555 รวมทั้งสิ้น119ครั้งมีการปรับปรุงเป็นระยะๆ ด้วยหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง คือ งานส่งต่อผู้ป่วยทั้งหมด ก่อนทดลอง 3 เดือน จำนวน 24 ครั้ง และ หลังทดลอง 3 เดือน จำนวน 51 ครั้ง รวม 194 ครั้ง เก็บข้อมูลจากแบบบันทึกการส่งต่อผู้ป่วย แบบบันทึกการเตรียมความพร้อม แบบบันทึกการประชุม เปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่างก่อนและหลังนำระบบใหม่ไปดำเนินการ ด้วยค่าสถิติพรรณา ร้อยละ การวิเคราะห์เนื้อหาและแสดงผลเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ
พบว่า ระบบบริการงานส่งต่อผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น ได้นำหลักวิชาการที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์โดยใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ มีการกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้ปฏิบัติงานได้ใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานอย่างเป็นมาตรฐานเดียวกัน มีการจัดเตรียมความพร้อมใช้ของทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการให้บริการงานส่งต่อผู้ป่วย ผลการเปรียบเทียบระหว่างก่อนกับหลังการดำเนินงาน พบว่า ด้านลักษณะทั่วไปของผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังทดลองไม่แตกต่างกัน ความถูกต้องของการเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มงานประจำวันเพิ่มขึ้น จากร้อยละ93.02 เป็น 98.61 ความถูกต้องของการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ81.84 เป็น 92.36 ระยะเวลาเฉลี่ยในการส่งต่อผู้ป่วยลดลงจาก 124 เหลือเพียง 77 นาที มีการติดตามผลหลังการส่งต่อผู้ป่วยหลังดำเนินการ 1วันและภายใน 1 เดือน
มีการจัดระบบการปฏิบัติงานที่ช่วยให้มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์ต่องานยิ่งๆขึ้น มีการจัดอัตรากำลังที่ได้อย่างเหมาะสม มีการเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มงานและปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐาน อย่างครบถ้วนถูกต้อง มีการปรับปรุงขั้นตอนภายใน กำหนดแนวทางที่ชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้สะดวก รวดเร็ว ยิ่งขึ้น คุณภาพบริการดีขึ้น ผู้ป่วยปลอดภัย เห็นถึงการพัฒนางานในองค์กรอย่างต่อเนื่อง
ควรพัฒนางานนี้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง ให้ครบถ้วนทั้งรับ-ส่งต่อให้มีเครือข่ายรองรับการบริการในสังกัดมหิดล; พัฒนาระบบ IT ให้หมาะสม นำหลักการ แนวทาง และ วิธีการ ที่ได้จากการวิจัยนี้ ไปประยุกต์ในการพัฒนางานอื่นๆ ของศูนย์การแพทย์ฯ; ควรพัฒนาระบบการรับปรึกษาระหว่างโรงพยาบาล ควรทำวิจัยจากงานประจำวิจัย (R2R) เพื่อการพัฒนางานทั้งหลายอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง จนได้ระบบการบริการที่ดี ใช้หลักวิชาการที่เกี่ยวข้องมาบูรณาการ มีการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนตามลำดับ โดยให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม ทำให้เห็นแนวโน้มในการพัฒนาที่ชัดเจน มีคู่มือการปฏิบัติงานใช้เป็นแนวทางมาตรฐาน มีประสิทธิภาพ ลดความสับสน เกิดบรรยากาศการทำงานที่ดีฉันท์พี่น้อง ;การพัฒนางานประจำให้เป็นงานวิจัย; การสนับสนุนจากผู้บริหาร
สนับสนุนและให้อิสระแก่ทีมผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานได้แสดงความคิดเห็นและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และยอมรับผลการวิเคราะห์ของทีมในการนำไปกำหนด เปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งผู้ป่วย ผู้ปฏิบัติงาน และองค์การ
ไม่มีข้อมูล
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย