จากรายงานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบ “คนไทยเสี่ยงด้วย โรคอาหารเป็นพิษ มีอัตราการเจ็บป่วยจากโรคติดเชื้อที่เกิดจากน้ำและอาหารที่ไม่สะอาด ปีละประมาณ 2 ล้านราย “ อำเภอหนองหาน มีอัตราการป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษปี 2552 สูงเป็นอันดับที่ 5 ของจังหวัดอุดรธานี ตำบลบ้านเชียง อยู่ในอันดับที่ 3 ของอำเภอหนองหาน อัตราป่วย 673.9 ต่อแสนประชากร
1.เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานอาหารปลอดภัยโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ 2.เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานอาหารปลอดภัยระหว่างรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่
วิจัยพัฒนาเชิงทดลอง ในพื้นที่ ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการร้านอาหาร และ ผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหารสด ที่ขึ้นทะเบียนตั้งแต่ 1 ตุลาคม 52- 30 กันยายน 2553 จำนวน 45 คน Intervention : การดำเนินงานอาหารปลอดภัย รูปแบบใหม่
พบว่า การเน้นให้เครือข่าย อสม. ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ ดำเนินการเฝ้าระวัง รวมทั้งเป็นผู้กำกับดูแลตรวจสอบคุณภาพร้านอาหาร คุณภาพแผงลอยจำหน่ายอาหารสด ซึ่งมีแผนการฏิบัติงานที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ และต่อเนื่อง โดยดำเนินการส่งผลการตรวจสอบคุณภาพคืนสู่ชุมชน แก่ เจ้าของร้านอาหาร เจ้าของแผงลอยจำหน่ายอาหาร ส่งผลทำให้ ในปี 2555 ร้านอาหารผ่านเกณฑ์คุณภาพ จำนวน ร้อยละ 100 และ อัตราป่วยด้วยโรคอาหารอาหารเป็นพิษในพื้นที่ ปี 2555 ลดลง ร้อยละ 54.05 จึงสรุปได้ว่า การดำเนินงานพัฒนางานอาหารปลอดภัยรูปแบบใหม่ ส่งผลให้อัตราป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษ ในพื้นที่ลดลง จากก่อนการใช้รูปแบบใหม่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)
ได้บรรจุหลักสูตร ทักษะ การตรวจประเมินร้านอาหาร และ การตรวจสารปนเปื้อน 4 ชนิด ในสาขาความรู้ของ อาสาสมัครสาธารณสุขเชี่ยวชาญ อำเภอหนองหาน ( ขยายไป 15 ตำบล) ได้ดำเนินการจัดอบรมไปแล้ว 3 รุ่น ปี 2554 -2556 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี กลุ่มงานสุขภาพภาคประชาชน ได้ดำเนินการนำรูปแบบการดำเนินงานอาหารปลอดภัยไปใช้ในระดับจังหวัด
บทเรียนจาการลงมือทำงานในครั้งนี้ ทำให้ได้ทราบว่า หากต้องการจะแก้ไขปัญหาในชุมชน ต้องให้ชุมชน หรือคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งหากชุมชนนั้น เป็นระดับตำบล จะต้องดำเนินการให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน อย่าให้ดีให้เด่นแค่บ้านใดบ้านหนึ่ง ต้องทั่วถึง และการดำเนินงานนั้น ต้องต่อเนื่อง เป็นประจำและสม่ำเสมอ อันจะส่งผลให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างแท้จริงและยั่งยืน
1.ชุมชน เห็นปัญหา และ เข้าใจตรงกันว่าปัญหานี้ต้องได้รับการแก้ไข 2.เกิดจากความต้องการแก้ไขปัญหาของตนเอง เนื่องจากตนเอง ก็คือ หนึ่งในผู้บริโภคที่ต้องอยู่ในพื้นที่ และมีความต้องการให้ประชาชนในชุมชนได้บริโภค อาหารที่มีคุณภาพ สะอาด และปลอดภัย
1.ปี 2554 อสม.ในเครือข่าย ได้รางวัล " อาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่นระดับชาติ สาขา งานคุ้มครองผู้บริโภค" 2.ปี 2554 ตลาดสดเทศบาลบ้านเชียง ได้รับรางวัล ตลาดสดระดับห้าดาว จาก จังหวัดอุดรธานี 3.ผู้รับผิดชอบงาน รพ.สต. ได้รับรางวัล ผู้ปฏิบัติราชการ ระดับดีเด่น อำเภอหนองหาน
ไม่มีข้อมูล
ไม่เป็น
ไม่เคย
วิชาการมหกรรม R2R เครือข่ายอีสานตอนบนประจำปี 2556 โรงแรมเซนทารา อุดรธานี 2556
รองชนะเลิศระดับ 2 ประเภท ปฐมภูมิ R2R อีสานตอนบน