pre-loader image

งานวิจัย R2R

ประเภทของงานวิจัย







ระดับการนำไปใช้งาน





งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์


งานวิจัยได้รับการเผยแพร่


งานวิจัยได้รับรางวัล


“ ผ้ากันยุ่ง ” กรณีศึกษาในศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก

งานวิจัยปี
คำสำคัญ
มือ หน้าอก หลัง หัวใจ
ประเภท
ไม่มีข้อมูล
ระดับของการนำไปใช้
ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว
ประเด็น
การสนับสนุนบริการ ธุรการ,IT,ห้อง Lab,x-ray อื่นๆ
ที่มา:

หน่วยตรวจโรคทั่วไป 1 เป็นหน่วยให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคทั่วไปและโรคเฉพาะทางด้านอายุรกรรม มีผู้ป่วยมารับบริการวันละประมาณ 160 - 180 คน/วัน รับผิดชอบการทำหัตถการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจสำหรับผู้ป่วยนอกทุกแผนกที่มีคำสั่งแพทย์ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการทำหัตถการบริเวณหน้าอกของผู้ป่วยในขณะที่ผู้ป่วยรู้สึกตัว ดังนั้นผู้ป่วยหญิงมีความวิตกกังวลว่าจะต้องถูกเปิดเผยบริเวณหน้าอกเป็นเวลานาน และเครื่องมือมีลักษณะเป็นสายยาวหลายเส้นทำให้พันกันก่อนการใช้งาน พยาบาลจะต้องเสียเวลาในการแยกสายแต่ละเส้นไม่ให้พันกัน หรืออาจเกิดการติดเครื่องมือผิดตำแหน่ง ทางหน่วยงานจึงคิดประดิษฐ์ผ้ากันยุ่งเพื่อความสะดวกในการใช้งานและช่วยพิทักษ์สิทธิ์ผู้ป่วยในการเปิดเผยอวัยวะในขณะทำหัตถการ

วัตถุประสงค์:

เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยในขณะที่พยาบาลทำหัตถการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ลดการสูญเสียเวลาในการเตรียมเครื่องมือให้พร้อมใช้งานก่อนและขณะทำหัตถการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และลดความผิดพลาดในการติดเครื่องมือผิด

ระเบียบวิธีวิจัย:

เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยการเก็บข้อมูลความพึงพอใจของผู้ป่วย ข้อมูลระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจผู้ป่วยแต่ละราย ข้อมูลความผิดพลาดที่เกิดจากการติดเครื่องมือผิดตำแหน่งโดยแบ่งการเก็บข้อมูลออกเป็น 2 ช่วง คือ 1. ข้อมูลก่อนการพัฒนา 2. ข้อมูลหลังการพัฒนา

ผลการศึกษา:

จากการศึกษาข้อมูลก่อนการพัฒนาพบว่าผู้ป่วยมีความวิตกกังวลขณะทำหัตถการพยาบาลรีบเร่งเพราะต้องการลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย อาจเกิดความผิดพลาดจากการติดเครื่องมือผิดตำแหน่ง และจากการที่พยาบาลต้องทำการแยกสายเครื่องมือไม่ให้พันกัน ทำให้เกิดการสูญเสียเวลาโดยไม่จำเป็น ทางหน่วยตรวจโรคทั่วไป 1 จึงหาวิธีแก้ไขโดยการใช้ “ ผ้ากันยุ่ง ” ซึ่งเป็นผ้าคลุมบริเวณหน้าอก และมีที่สอดสายเครื่องมือเรียงตามตำแหน่งติดกับตัวผ้า ป้องกันสายพันกัน นำมาใช้กับผู้ป่วย หลังจากใช้ “ ผ้ากันยุ่ง ” พบว่าช่วยลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยเพศหญิงได้ ลดการสูญเสียเวลาในการเตรียมเครื่องมือให้พร้อมใช้งานก่อนและขณะทำหัตถการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและลดความผิดพลาดจากการติดเครื่องมือผิดตำแหน่งได้

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ:

จากการที่ได้ศึกษาและพัฒนางานในครั้งนี้พบว่าการใช้ “ ผ้ากันยุ่ง ” ช่วยลดระยะเวลาในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ พร้อมกับช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย และลดความผิดพลาดจากการติดเครื่องมือผิดตำแหน่งของพยาบาลในขณะตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้

บทเรียนที่ได้รับ:

จากการทำงานชิ้นนี้ทำให้เป็นการกระตุ้นบุคลากรในหน่วยงานทุกระดับให้เห็นว่าการทำ R2R ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน แต่เป็นการแก้ปัญหาในงานประจำที่ทำทุกวันให้ดีขึ้นและการ ใช้ “ ผ้ากันยุ่ง ” ยังต้องมีการปรับปรุงแก้ไข ฃเพื่อลดจุดบกพร่องและเพิ่มประสิทธิภาพจากคำแนะนำ ของผู้ใช้งานในหน่วยงาน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ:

ความร่วมมือของทุกคนในหน่วยงานที่ช่วยให้คำติชม ข้อเสนอแนะต่างๆเกี่ยวกับการใช้ “ ผ้ากันยุ่ง ”

การสนับสนุนที่ได้รับจากผู้บริหารหน่วยงาน/องค์กร:

ได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้างานการพยาบาลผู้ป่วยนอกและฉุกเฉิน งานบริการผ้า และบุคลากรทุกคนในหน่วยงาน

Keywords:

ไม่มีข้อมูล

เป็นสิ่งประดิษฐ์:

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์:

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน:

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ:

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล
นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย
ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร
จังหวัด
นครปฐม
ภูมิภาค
ภาคกลาง
เขตสุขภาพ
เขตที่ 5
ข้อมูลอื่น ๆ
การสนับสนุน
ไม่ได้รับ
เผยแพร่เมื่อ
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง