ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแห่งหนึ่งในสังกัดของมหาวิทยาลัยมหิดล มีพันธกิจในการให้บริการโดยเฉพาะการสร้างเสริมสุขภาพแก่บุคลากรและชุมชนในพื้นที่ ปัญหาการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตอันดับสามของคนไทย เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ หลอดเลือด ฯลฯ อนึ่งศูนย์การแพทย์ฯ มีความมุ่งมั่นในการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรและประชาชน จึงประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีการเปลี่ยนพฤติกรรม และแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการเลิกบุหรี่ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence – based practice) นำมาเป็นฐานคิดในการจัดตั้งคลินิกฟ้าใสไร้ควัน (Smart Quit Clinic) วิธีการทำให้เลิกบุหรี่ได้สำเร็จมีหลายวิธี การรักษาด้วยศาสตร์แพทย์ทางเลือก นวดกดจุดสะท้อนเท้าเป็นศาสตร์ที่ถือกำเนิดมานานกว่า 5000 ปี มีความปลอดภัย และบางการศึกษาว่าสามารถช่วยในการเลิกบุหรี่ได้
เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการนวดกดจุดสะท้อนเท้าในผู้ต้องการเลิกบุหรี่ ที่คลินิกฟ้าใส ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental design) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง(purposive sampling) จากผู้ป่วยโรคติดบุหรี่ ที่สมัครใจเข้าร่วมการรักษาด้วยวิธีนวดกดจุดสะท้อนเท้า ผู้ป่วยทุกรายได้รับการนวด 2 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยนวดจนครบ 15 ครั้ง ใช้เครื่องมือคือแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย และแบบประเมินติดตามอาการ ก่อนและหลังการให้บริการนวดกดจุด ศึกษาในช่วงระยะเวลา ตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2555
ผลการวิจัยพบว่าวิธีนวดกดจุดสะท้อนเท้า มีผลทำให้รสชาติของบุหรี่เปลี่ยนไปใน คิดเป็นร้อยละ 84.6 โดยมีรสชาติขมและบางรายรู้สึกมีรสชาติจืดลง การนวดกดจุดสะท้อนเท้าสามารถทำให้ผู้ป่วยเลิกบุหรี่ได้ 7 คน (คิดเป็นร้อยละ 53.8) พบว่าสามารถเลิกได้หลังการนวดตั้งแต่ครั้งที่ 1ถึง ครั้งที่ 11 ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเลิกได้ ส่วนใหญ่ เป็นผู้ที่รับการนวดกดจุดสะท้อนเท้าไม่ครบ 5 ครั้ง จากข้อมูลที่ได้ ไม่พบความสัมพันธ์ ระหว่าง ผลสัมฤทธิ์ของการนวดกดจุดสะท้อนเท้าเพื่อรักษาผู้ป่วยติดบุหรี่กับปัจจัยสาเหตุของการติดบุหรี่ ความรุนแรงของการติด และระยะเวลาของการติด
ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการนวดกดจุดสะท้อนเท้า สามารถทำให้การรับรสชาติของบุหรี่เปลี่ยนไป และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเลิกบุหรี่ได้ จึงสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดบุหรี่แบบผสมผสานคลินิกฟ้าใส ศูนย์การแพทย์ฯ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงจากสารพิษในบุหรี่ และ ลดค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการรักษาผู้ติดบุหรี่
องค์ความรู้ที่ใช้ดั้งเดิม หากนำการวิจัยมาใช้เป็นเครื่องมือ อย่างเป็นระบบ จะสามารถ พัฒนางานประจำ นำมาใช้ดูแลผู้ป่วยในศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อให้เกิดประโยชน์และเพิ่มคุณค่า สามารถนำไปขยายผลเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ติดบุหรี่ในประเทศต่อไป
ความร่วมมือในทุกหน่วยงาน ทั้งงานสร้างเสริมสุขภาพ งานการแพทย์ทางเลือก และ บุคลากรสาธารณสุข ที่มีความตั้งใจที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย ความรักในงานที่ทำ นำความห่วงใยผู้ป่วยมาใช้การติดตาม เป็นโอกาสพัฒนา ส่งผลให้การวิจัยประสบความสำเร็จ
ผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับให้การสนับสนุนและให้โอกาสในการศึกษาและพัฒนางาน
ไม่มีข้อมูล
ไม่เป็น
ไม่เคย
ไม่เคย
ไม่เคย