pre-loader image

งานวิจัย R2R

ประเภทของงานวิจัย







ระดับการนำไปใช้งาน





งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์


งานวิจัยได้รับการเผยแพร่


งานวิจัยได้รับรางวัล


การพัฒนากระบวนการฝึกสอน การจัดทำ Linen pack สำหรับห้องผ่าตัด ด้วยระบบ Lean

งานวิจัยปี
คำสำคัญ
นิ้ว ผ่าตัด หลัง
ประเภท
ไม่มีข้อมูล
ระดับของการนำไปใช้
ระดับที่ 1 นำไปใช้ในหน่วยงานตนเองแล้ว
ประเด็น
การสนับสนุนบริการ ธุรการ,IT,ห้อง Lab,x-ray อื่นๆ
ที่มา:

งานบริการผ้า ศูนย์การแพทย์ฯ เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนการให้บริการรักษาผู้ป่วยให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพ ในหน้าที่เกี่ยวกับเครื่องผ้าต่างๆ จะต้องดำเนินการจัดหา และบริการซักผ้าให้สะอาด จัดเตรียมจัดส่งให้แก่หน่วยงานผู้รับบริการอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง จากการทบทวนขั้นตอนในการปฏิบัติงานภายในหน่วยงาน พบว่ามีปัญหาบุคลากรมีอัตราการลาออกสูงกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ ดังนั้นการฝึกสอนงานแก่บุคลากรใหม่นั้นจะต้องใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี สำหรับการเรียนรู้ทุกขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อตอบสนองระบบการสับเปลี่ยน หมุนเวียนงาน (Job Rotation)และการให้รักษาการแทน(Action / Acting)วิธีการฝึกสอนงานก็จะใช้วิธีลงมือฝึกปฏิบัติและเอกสารคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับ ในส่วนของงานการจัดเตรียม Linen pack สำหรับห้องผ่าตัดจะต้องดำเนินการจัดทำตามมาตรฐานและตรวจสอบคุณภาพผ้าอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

วัตถุประสงค์:

เพื่อพัฒนากระบวนการฝึกสอนงาน การจัดทำ Linen pack ให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อเปรียบเทียบผลเชิงพัฒนากระบวนการฝึกสอนงาน ระหว่างก่อน และ หลัง ตามรูปแบบที่กำหนด

ระเบียบวิธีวิจัย:

เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการเก็บข้อมูลในกระบวนการสอนงาน การจัดทำ Linen pack สำหรับห้องผ่าตัด โดยการเก็บข้อมูล การสอนในรูปแบบก่อนการพัฒนา ได้เริ่มจากการศึกษาพฤติกรรมของผู้ฝึกสอน และ ผู้รับการฝึกสอน จากการสังเกต โดยการใช้เครื่องมือคือแบบสังเกตพฤติกรรม มาตรประมาณค่า 5 ระดับ และการประเมินกระบวนการจัดทำLinen pack และ ประเมินคุณภาพผลงาน

ผลการศึกษา:

จากการประเมินการจัดทำLinen pack พฤติกรรมทั้งผู้สอนและผู้เรียน ตามตัวชี้วัด ได้ 67%จากเป้าหมาย 80%และปัญหา การอ่านคู่มือการจัดทำLinen pack อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ ในกรณีของระยะเวลาในการเรียนรู้จะต้องใช้เวลา 5ครั้งๆละ 1ชั่วโมง สำหรับการเรียนรู้วิธีการพับผ้าชนิดต่างๆที่จะประกอบเป็น Ordinary pack จึงนำแนวคิดระบบ Lean มาพัฒนางานโดยมุ่งประเด็นการสูญเปล่าของเวลาการรอคอย ที่จะหาโอกาสในการสอบถามวิธีการต่างๆ และเพื่อตอบสนองระบบการหมุนเวียนงาน(Job Rotation)ให้มีประสิทธิภาพ โดยสามารถทบทวนวิธีการปฏิบัติก่อน จึงเกิดแนวคิดในการช่วยเหลือตนเอง หรือ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน โดยใช้กลยุทธ์”จับ จ้อง มอง ทำ “ คือ การเรียนรู้วิธีจัดทำLinen pack จาก CDพร้อมกับอุปกรณ์จำลอง คือ ผ้าชนิดต่างๆ ที่จะประกอบเป็น Linen packต่างๆ ซึ่งมีขนาดอัตราส่วน 1นิ้ว :1เซนติเมตร สำหรับฝึกปฏิบัติ และอุปกรณ์จำลองที่จำนวนครั้งมากกว่าฝีกปฏิบัติ

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ:

กระบวนการฝึกสอนการจัดทำ Linen pack สำหรับ Ordinary pack จากเดิมใช้เวลา 5 วันๆละ 1 ชั่วโมง สามารถลดเวลาการฝึกปฏิบัติ เหลือ 2 วันวันละ 1 ชั่วโมง กับผู้ฝึกสอนงาน โดยการฝึกปฏิบัติความชำนาญด้วนตนเอง ส่วนพฤติกรรมทั้งผู้สอนและผู้เรียน ตามตัวชี้วัด ได้เพิ่มเป็น 88% จากเดิม 67% ตามเป้าหมาย 80% บุคลากรงานบริการผ้าพึงพอใจในรูปแบบการ” การจับ จ้อง มอง ทำ”

บทเรียนที่ได้รับ:

งานบริการผ้าเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนให้บริการรักษาผู้ป่วยให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพ ในหน้าที่ความรับผิดชอบ ได้นำแนวคิดระบบ Lean มาใช้เป็นเครื่องมือตัวหนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์และเพิ่มคุณค่า และกำจัดความสูญเปล่าแห่งการรอคอย ทำให้กระบวนการทำงาน สามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง (Flow) สามารถตอบสนองระบบการสับเปลี่ยน หมุนเวียนงาน (Job Rotation)อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ:

ความตั้งใจที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงานบริการผ้า ให้ครบวงจรบุคลากรมีการเรียนรู้ ร่วมกันปรับปรุงกระบวนการต่างๆ นำจุดอ่อนของหน่วยงานมาเป็นโอกาสในการพัฒนา ส่งผลให้การ วิจัยประสบความสำเร็จ

การสนับสนุนที่ได้รับจากผู้บริหารหน่วยงาน/องค์กร:

ผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับให้การสนับสนุนและให้โอกาสในการศึกษาและพัฒนางาน

Keywords:

ไม่มีข้อมูล

เป็นสิ่งประดิษฐ์:

ไม่เป็น

เคยได้รับการตีพิมพ์:

ไม่เคย

เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน:

ไม่เคย

รางวัลที่ได้รับ:

ไม่เคย

ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล
นักวิจัย
ที่ปรึกษา
คุณอำนวย
ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร
จังหวัด
นครปฐม
ภูมิภาค
ภาคกลาง
เขตสุขภาพ
เขตที่ 5
ข้อมูลอื่น ๆ
การสนับสนุน
ไม่ได้รับ
เผยแพร่เมื่อ
งานวิจัยนี้ส่งโดย
นักวิจัยส่งเอง